ผู้ประดิษฐานคณะธรรมยุต

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  หรือ  พระวชิรญาณมหาเถระ  เมื่อพระองค์ทรงผนวชพระองค์ได้ศึกษาในพระธรรมวินัยทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอย่างจริงจัง

 

“คำว่า “ธรรมยุต”แปลว่า”ผู้ประกอบด้วยธรรม” หรือ “ชอบด้วยธรรม” หรือ “ยุติตามธรรม” หมายถึง คณะสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่าข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติในข้อนั้น โดยเว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ม่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นข้อปฏิบัติที่ประพฤติตามกันนมาแต่ผิดธรรมวินัยก็ตาม”

ธรรมยุติกนิกาย

ธรรมยุติกนิกาย  เป็นคณะหนึ่งของพระสงฆ์ในประเทศไทย  เป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระ  ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ:พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๔ )  และเมื่อถึงรัชกาลที่  ๕  พ.ศ. ๒๔๔๕  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระบรมราชโองการให้ประกาศใช้   พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น  เป็นครั้งแรกในประเทศไทย   พระราชบัญญัติฉบับนี้ชื่อว่า  “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ รศ.๑๒๑”
มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 
    นิกาย  ธรรมยุติ  ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงฆ์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์  ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ  ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัตินสิ่ง  ที่ถูกต้องดีงาม  ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้งเป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพ่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ  ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก  ซึ่งเป็นความพยายามของพระวชิรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย

การก่อตั้งธรรมยุติกนิกาย

เจ้าฟ้ามงกุฎ: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า  อยู่หัวรัชกาลที่  ๔  ขณะดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏ  ได้พบเห็นข้อวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ที่ย่อหย่อนคลาดเคลื่อนไปจากพระธรรมวินัยเป็นอันมาก  ภายหลังจากที่ได้ทรงวิสาสะกับพระมอญ ชื่อ 
ซาย  ฉายา  พุทฺธวํโส  ซึ่งได้อธิบายหลักปฏิบัติตามพระวินัยได้ชัดเจนเป็นที่พอพระทัย  จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่  เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๒  ภายหลังที่ทรงแก้ไขข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ให้ถูกต้องตามพระวินัยแล้ว  ก็ได้มีพระภิกษุเลื่อมใสเข้ามาขอศึกษาอยู่ด้วยจำนวนผู้เลื่อมใสในความเคร่งครัดของเจ้าฟ้ามงกุฏเพิ่มจำนวนขึ้นจนนำไปสู่การรวมตัวกันเรียกว่าคณะธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๖  ภายหลังได้เสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหารและตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุต

พัฒนาการของธรรมยุติกนิกาย

ระยะที่ ๑ การก่อตั้ง (พ.ศ. ๒๓๖๗ – ๒๓๗๙) หลังจากวชิรญาณภิกษุตั้งนิกายใหม่ขึ้นมาแล้ว  พระองค์เจ้าฤกษ์ซึ่งมาบวชที่วัดมหาธาตุเป็นธรรมยุตองค์แรกที่ห่มแหวกแบบรามัญเข้าไปรับบิณฑบาตในพระราชวัง  และถูกรัชกาลที่ ๓  ตำหนิ  วชิรญาณภิกษุจึงห่มแหวกบ้างและย้ายจากวัดมหาธาตุไปจำพรรษาที่วัดสมอราย  ในขณะเดียวกันรัชกาลที่ ๓ ทรงพยายามควบคุมคณะสงฆ์มากขึ้น  โดยทรงตั้งกรมหมื่นไกรสรวิชิตให้  กำกับสังฆการี  และสถาปนาให้กรมหมื่นปรมานุชิต  ชิโนรสเป็นเจ้าคณะกลางปกครองวัดในกรุงเทพ ฯ ทั้งหมด ๖๑ วัด  ให้มีระเบียบยิ่งขึ้น  รวมทั้งการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๗ ในที่สุดทรงให้วชิรญาณภิกษุมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร
ระยะที่ ๒ การขยายตัวหลังจากวชิรญาณภิกษุมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร  มีวัดสังกัดธรรมยุติกนิกายมากขึ้น  เพราะรัชกาลที่ ๓ ทรงให้การรับรองวชิรญาณภิกษุเท่ากับรับรองความชอบธรรมของธรรมยุติกนิกายไปด้วย
      วัดบวรนิเวศวิหารเมื่อวชิรญาณภิกษุเสด็จมาประทับได้เป็นศูนย์กลางของการเผยแผร่พระพุทธศาสนาด้วยเทคโนโลยี  เมื่อวชิรญาณภิกษุทรงสร้างโรงพิมพ์ขึ้นในวัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนา  และพัฒนาตัวพิมพ์อักษรไทยที่มิชชันนารีคิดขึ้นก่อนหน้าให้สมบูรณ์  และยังประดิษฐ์อักษรอริยกะเพื่อใช้  พิมพ์ภาษาบาลีแทนอักษรขอมด้วย

ระเบียบ แบบแผนในด้านการปฏิรูปทางพระพุทธศาสนาของธรรมยุติกนิกาย

๑.ทรงตั้งธรรมเนียมนมัสการพระเช้าค่ำ ที่เรียกว่าทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ เป็นประจำ และทรงพระราชนิพนธ์บทสวดเป็นภาษาบาลี เป็นคาถา เป็น จุณณิยบท ซึ่งใช้แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีการรักษาศีลอุโบสถ และแสดงพระธรรมเทศนาเวลาสามโมงเช้าและบ่ายสามโมง ในวันธรรมสวนะและวันอุโบสถ เดือนละ ๔ ครั้ง
   ๒.ทรงปฏิรูปการเทศน์และการอธิบายธรรมทรงเริ่มการเทศนาด้วยฝีพระโอษฐ์ ชวนให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายและเกิดศรัทธา ไม่โปรดเขียนหนังสือไว้เทศน์นอกจากนี้ยังทรงฝึกหัดศิษย์ให้ปฏิบัติตาม ทรงอธิบายเพื่อให้คนเข้าใจในเนื้อหาของหลักธรรม เผยแพร่หลักธรรมสู่ราษฎร อธิบายหลักอันยุ่งยากซับซ้อน คณะสงฆ์ธรรมยุติได้เพิ่มบทสวดมนต์ภาษาไทยลงไป ทำให้คนนิยมฟังเป็นอันมาก
๓.ทรงกำหนดวันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางศาสนาเพิ่มขึ้นจากวันวิสาขบูชา ทรงพระราชนิพนธ์คำบูชา และวางระเบียบให้เดินเวียนเทียนและสดับพระธรรมเทศนา ทรงชักนำให้บำเพ็ญกุศลตามเทศกาลต่าง ๆ เช่น ถวายสลากภัตร ตักบาตรน้ำผึ้ง ถวายผ้าจำนำพรรษา
๔.ทรงแก้ไขการรับผ้ากฐินให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ คือเริ่มแต่การซัก ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จภายในวันเดียวกัน
๕.ทรงแก้ไขการขอบรรพชา และการสวดกรรมวาจาในอุปสมบทกรรมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น เช่น ระบุนามอุปสัมปทา และนามอุปัชฌายะ ซึ่งเป็นภาษาบาลีในกรรมวาจา การออกเสียง อักษรบาลี ทรงให้ถือหลักการออกเสียงให้ถูกฐานกรณ์ของอักขระตามหลักบาลีไวยากรณ์
๖.ทรงวางระเบียบการครองผ้า คือการนุ่งห่มของภิกษุสามเณร ให้ปฏิบัติไปตามหลักเสขิยวัตรในพระวินัยเพื่อให้สุภาพเรียบร้อย (เดิมพระธรรมยุติครองจีวรห่มม้วนซ้าย แต่ตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนมาห่มห่มม้วนขวา (ห่มมังกร) ตามแบบพระสงฆ์มหานิกาย ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ จึงได้กลับมาห่มม้วนซ้ายตามเดิม) ทรงวางระเบียบการกราบไหว้ของพระภิกษุสามเณร และระเบียบอาจารยะมารยาท ต้องวางตัวให้น่าเลื่อมใสศรัทธา สังวรในกิริยามารยาทและขนบธรรมเนียม
๗.ทรงให้พระสงฆ์ธรรมยุติ ศึกษาพระปริยัติธรรมให้แตกฉาน สามารถแสดงธรรมเทศนา สั่งสอน สามารถแยกระหว่างความเชื่อที่มีเหตุผล และความเชื่อในสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้ การศึกษาในด้านวิปัสสนาธุระ ไม่ใช่รับรู้เฉพาะสมถะวิธีอันเป็นเบื้องต้น แต่ให้รับรู้ไปถึงขั้นวิปัสสนากรรมฐาน การปฏิบัติตามพระวินัย ทรงให้ถือหลักว่าสิ่งใดที่สงสัยและน่ารังเกียจไม่ควรกระทำโดยเด็ดขาด พึงเคารพพระวินัยอย่างเคร่งครัด
๘ทรงเห็นความสำคัญในการศึกษาหา ความรู้สาขาอื่น ๆ ของพระสงฆ์ จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์เข้าศึกษาภาษาอังกฤษกับหมอแคสเวล (Reverend Jesse Caswell) ตามความสนใจ ทำให้มีการสืบสานการเข้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมของพระสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน
WP Radio
WP Radio
OFFLINE LIVE
Scroll to Top
Scroll to Top