กิจวัตรประจำวัน

“การมีกฎระเบียบตั้งเป็นกฎเกณฑ์ ในการทำกิจวัตร เพื่อประพฤติปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุ สามเณร หรืออุบาสกอุบาสิกาก็จะทำให้มีหลักเกณฑ์ในการฝึกอบรบ ทางด้านกาย วาจา ใจ”

การประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางของพรหมจรรย์ได้นั้น  ต้องเริ่มต้นด้วยศรัทธา  และการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ของตนเองเสียก่อน  จากนั้นจึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้ด้วยความพากเพียรพยายาม  เช่นกัน  เมื่อเข้ามาอยู่  ณ  สถานที่ปฏิบัติธรรมเราก็จำเป็นที่จะต้องมีข้อปฏิบัติ  ตามกฎระเบียบที่วัดกำหนดขึ้นไว้  เพื่อให้เป็นแนวทางการปฏิบัติธรรม  เมื่อฆ้องระฆังดังขึ้นเป็นสัญญาณบอกเวลากิจวัตรประจำวัน  อันเป็นวัตรปฏิบัติประจำของภิกษุ  สามเณร  และอุบาสกอุบาสิกาซึ่งในปัจจุบันนี้วัตรต่างๆ  ได้เปลี่ยนแปลงไปจากยุคแรกๆบ้าง  ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมแก่สมัยและสภาพของสังคมที่แปรเปลี่ยนไป  แต่ก็ยังคงความเข้มข้นเป็นสัมมาปฏิปทาอยู่เช่นเดิม 

    กิจวัตรทุกอย่างดำเนินไปตามแนวทางพระธรรมวินัย  โดยมีจุดมุงหมายอยู่ที่การขัดเกลากิเลส  และเสริมสร้างจริตนิสัยความเป็นผู้เสียสละ  ละความเห็นแก่ตัว  ทำลายความเกียจคร้าน  อันเป็นเหตุหนึ่งของความทุกข์  ดังพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า  “ผู้เกียจคร้านย่อมเป็นทุกข์  ย่อมระคนอยู่ด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย”

   กิจวัตรประจำวันยังอาจเป็นเครื่องทดสอบจิตใจของภิกษุสามเณร  และอุบาสกอุบาสิกาได้ด้วยว่า  เป็นผู้มีคุณธรรมของสมณะมากน้อยเพียงใด  สิ่งเหล่านี้จะรู้ได้ในขณะที่สัญญาณฆ้องระฆังดังขึ้น  จิตจะแสดงความรู้สึกเช่นใดออกมา  มันอาจเป็นความกระตือรือร้นด้วยศรัทธา  หรือเป็นความรู้สึกที่เบื่อหน่าย  เกียจคร้าน  ถึงกับคิดหลีกเหลี่ยง  ด้วยอำนาจตัณหาก็ได้  จึงอาจกล่าวได้ว่ากิจวัตร  คือเครื่องวัดความเป็นพระ  หรือเป็นเครื่องวัดระดับจิตใจของบุคคลว่าสูงต่ำเพียงใด

สัญญาณฆ้อง
๐๔.๓๐ น.

ทำวัตรเช้า ๐๕.๐๐

ออกบิณฑบาต ๐๖.๐๐

ฉันภัตตาหารเช้า ๐๘.๐๐

นั่งสมาธิ ๑ ชั่วโมง ๑๒.๐๐

ปัดกวาดลานวัด ศาลา ๑๕.๐๐

_MG_0604

ทำวัตรเย็น ฟังเทศน์พระไตรปิฎก ๑๗.๐๐

เดินจงกรม ๑๙.๐๐

WP Radio
WP Radio
OFFLINE LIVE
Scroll to Top
Scroll to Top