ปฏิบัติธรรมนำสุขสู่ประชาชน
“หัวใจของการปฏิบัติธรรม “เพื่อความพ้นทุกข์” นั้นจะต้องทำความเข้าใจวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง เพราะถ้าไม่รู้วิธี และแนวทางในการปฏิบัติ ก็จะทำให้เสียเวลาและไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง หรือประสบความสำเร็จได้ มัวแต่ลองผิดลองถูก กว่าจะเข้าใจก็เสียเวลไปนาน”
ตามสโลแกน ที่พระมหาประกอบ ธัมมชีโว เจ้าอาวาส วัดป่ามหาไชย ได้ตั้งไว้เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการจัดโครงการปฏิบัติธรรมคือ
“ ศึกษาธรรม นำปฏิบัติ
พัฒนาจิต คิดค้นทางพ้นทุกข์”
เพื่อให้พุทธศาสนิกชน กุลบุตร กุลธิดา ได้มีหลักในการเริ่มต้นในการศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม นำไปสู่การพัฒนาจิตใจ และเห็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์โดยแท้จริงตามตามหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้จัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมอบรมธรรมขึ้นภายในวัดป่ามหาไชย แห่งนี้เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมต้องมีความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ เกิดขึ้นตามหลักแห่งสัจจธรรมอยู่เสมอ เมื่อมีความทุกข์มนุษย์ก็ย่อมต้องหาทางพ้นทุกข์โดยจำเป็นต้องมีผู้นำปฏิบัติ คอยชี้แนะแนวทางอยู่เสมอเพื่อให้การพัฒนาจิต เกิดความราบรื่น จริงอยู่ที่พระพุทธองค์ทรงค้นหาทางพ้นทุกข์ไว้แล้วอย่างชัดเจน แต่เหตุใดจึงต้องคิดค้นทางพ้นทุกข์ ตามสโลแกนข้อสุดท้าย คือการที่เราจะรู้แล้วเห็นธรรมะของพระพุทธองค์ที่ทรงมอบไว้ให้แก่เราทั้งหลายแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องคิดค้นหาทางที่จะปลดทุกข์ให้เข้ากับปัญหาของเราที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันนี้ เมื่อพระพุทธองค์ทรงคิดค้นไว้ให้แล้ว เราก็ต้องไปคิดค้นหลักธรรมส่วนใดของพระพุทธองค์ที่จะเข้ามาแก้ไข้ ให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่นไปด้วยดี
ศึกษาธรรม
ในการศึกษาหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้มีหลายหมวดหมู่ หากเรานำธรรมใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับเราแล้ว ก็สามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
พุทธศาสนามีหลักการเดียวกับวิทยาศาสตร์ คือ
*สอนอย่างมีเหตุผล
*ศึกษาจากของจริงที่มีอยู่
*เชื่อจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
คำสอนทั้งหมดของพระพุทธศาสนาสรุปอยู่ที่
*ละเว้นความชั่วทั้งปวง
*ทำความดีให้เต็มเปี่ยม
*ทำจิตให้บริสุทธ์
พุทธศาสนามีคำสอนอยู่ ๒ ระดับ คือ
*ระดับศีลธรรม หรือระดับต่ำ ที่สอนให้ละเว้นความชั่ว
และ ทำความดี ดดยเอาไว้สอนคนที่ความรู้น้อย เช่นชาวบ้าน
*ระดับสูง ที่สอนให้ทำจิตใหห้บริสุทธิ์ โดยเอาไว้สอนคนที่มีความรู้
คำสอนที่สำคัญของพระพุทธศาสนาระดับสูง คือ เรื่อง อริยสัจ ๔
๑. ทุกข์ คือเรื่องความทุกข์ของจิตใจมนุษย์ในปัจจุบัน
๒. สมุทัย คือเรื่องสาเหตุของความทุกข์ทั้งปวง
๓. นิโรธ คือเรื่องความดับสนิทของความทุกข์ทั้งปวง
๔. มรรค คือเรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ทั้งปวง
นำปฏิบัติ
พระมหาประกอบ ธัมมชีโว จัดกิจวัตรประจำวันในการปฏิบัติธรรม ทั้งวันธรรมดา และ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและทางโลก โดยเฉพาะวันอาทิตย์ จะจัดให้มีการอบรมการฝึกจิตภาวนา อบรมกรรมฐานสวดมนต์ทำวัตร ในช่วง ๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
เนื่องจากวันอาทิตย์มักจะเป็นวันหยุดทำงานของประชาชนเพื่อให้เวลาในการได้มีส่วนร่วมของประชาชน จึงจัดให้มีการสวดมนต์ ทำวัตรในเวลาบ่าย เพราะวันปกติจะสวดมนต์ทำวัตรเย็นในเวลา ๑๗.๐๐ น. และในช่วงเวลา ๑๙.๐๐ – ๒๑.๐๐ ของวันอาทิตย์ก็จัดให้มีการนั่งสมาธิภาวนาอีกเป็นเวลา ๒ ชั่วโมง และวันพระ ๘ ค่ำ เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. นั่งสมาธิต่อเนื่อง ๓ ชั่วโมง วันพระ ๘ ค่ำ สวดชยันโต ๑๐๘ จบ และวันพระ ๑๕ ค่ำ สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ อิติปิโส ๑๐๘ โดยที่พระอาจารย์จะเป็นผู้นำในการประกอบกิจกรรมทุกอย่าง เพื่อนำปฏิบัติให้กุลธิดา ได้มีโอกาสฝึกอบรมกรรมฐาน
พัฒนาจิต
หลังจากที่องค์ความรู้และมีผู้ให้คำแนะนำในการเริ่มเข้าสู่การปฏิบัติธรรมแล้ว ก็เริ่มการพัฒนาจิตใจขึ้นเรื่อยๆ ในทางพระพุทธศาสนา การพัฒนาจิตเป็นสิ่งสำคัญอาจจะเรียกได้ว่า เป็นหัวใจหลักเพื่อที่จะได้ยกจิตใจของตนเองให้สูงขึ้น ตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ พระองค์ได้ตรัสธรรมในเรื่องของพรหมวิหาร ๔ พรหมวิหาร ๔ เป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา การรู้จักวางเฉย
คิดค้นทางพ้นทุกข์
เมื่อเราได้ศึกษาธรรม และมีผู้แนะนำในการปฏิบัติทำให้เกิดการก้าวหน้าในการพัฒนาจิตใจแล้ว เราก็จำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือตนเองในการใช้สติปัญญาพิจารณา นำความรู้ที่ได้มาฝึกหัดปฏิบัติจนเกิดผล ดังที่คำสอนของพระพุทธองคืตรัสว่า อัตตา หิ อัตตะโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
เพราะไม่มีใครรู้จักจิตใจเราได้ดีเท่าเรารู้จักจิตใจตนเอง รู้จักจิตใจตนเอง รู้ว่าเวลาไหนทุกข์ รู้ว่าเวลาไหนควรใช้หลักธรรมไหนเข้ามาแก้ปัญหาเมื่อประสบทุกข์