เรื่อง พรากของเขียว จนเทวดาไม่มีที่อยู่
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว 24 ม.ค. 65

 

นัยของพระธรรมเทศนา เกี่ยวกับการพรากของเขียว
ภูตคามรรค การพรากของเขียว มูลเหตุมาจาก
พระเมืองอรวี จะสร้างเสนาสนะ แล้วตัดต้นไม้
พอไปตัดต้นไม้ เป็นต้นไม้ใหญ่
เอาไปทำเสา หรือมาทำขื่อทำแปร ตัดเอง
ต้นไม้มีรุกขเทวดาอาศัยอยู่ พวกรุกขเทวดานี้ก็เหมือนกับ
พวกรุกขเทวดา อากาศเทวดา ภูมเทวดา
อาศัยอยู่ สิกขาบทนี้ ต้นตอมาจากเทวดาไปฟ้องพระพุทธเจ้า
ฟ้องพระพุทธเจ้าว่า พระตัดต้นไม้ ขอร้องยังไงก็ไม่ยอม
เทวดาขอร้องแต่พระไม่ได้ยิน
เพราะพระไม่มีอภิญญา ไม่มีหูทิพย์ ตามทิพย์
ตามท้องเรื่องที่ว่า เทวดาก็เลยเอาลูกไปวางไว้เพื่อที่พระจะได้สงสาร
แต่หารู้ไม่ว่าพระก็ไม่เห็น ลูกของตนเองอีก
ง้างขวานขึ้นมาแล้วก็สับชึบลงไปเลย
ลูกแขนขาดแต่ท่านไม่ได้บรรยายไว้ว่า
เลือดไหลหรือเปล่าไม่รู้นะ ลูกแขนขาด
เทวดาก็เงื้อมือเลยว่าจะตบแขนพระ จะฆ่าพระนั้นแหละ
ทีนี้นึกได้ว่าเออ…พระเป็นคนเป็นผู้มีเจ้าของ
ถ้าเราทำร้ายพระเราก็จะเสียเกียรติ เสียชื่อเสียง
เวลาเข้าไปในธรรมสภา นิเทวดาเขานึก
เวลาเข้าไปในธรรมสภาประจำเดือนประจำปีอย่างนี้
ก็จะต้องไปคุยถึงเรื่องว่าทำดีอะไร ทำบาปอะไร
แต่โดยปกติเทวดาก็ต้องทำดี
ฉะนั้นถ้าเข้าไปในสภาถ้าไปพูดกับหมู่กับพวกว่า
เราตบกระบาลพระไปองค์หนึ่ง ในธรรมสภานั้นก็ต้องตำหนิ
ว่าท่านนี้ลุอำนาจแก่ความโกรธ
ถ้าเทวดาโกรธนิ โดยปกติแล้วจะต้องเคลื่อนจากที่
หมายถึงเคลื่อนจากภพภูมินั้น เทวดานึกได้ก็เลยไปเฝ้า
ไปร้องเรียนต่อพระพุทธเจ้าเลยนะ พระพุทธเจ้าก็มีรับสั่ง
ให้ประชุมสงฆ์ ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ขึ้นมา
ว่าห้ามภิกษุตัดเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นตัดเองก็ดีซึ่งภูตคาม
ภูตคามก็หมายถึง ต้นไม้นั้นแหละ ต้นไม้ที่ท่านบรรยาย
อธิบายขยายไว้ ต้นไม้ก็มีหลายแบบ
แต่พูดง่าย ๆ ก็คือของเขียว ไม่ให้พรากของเขียว
ไล่ไปตั้งแต่ผักพืชผักผลไม้ ยาต้นไม้ผลไม้ เล็กน้อยใหญ่ก็แล้วแต่
ล้วนแล้วแต่เป็นข้อห้ามทั้งนั้น เพราะจริง ๆ ทว่าถึงคนโดยทั่วไป
เขาก็ว่าต้นไม้นั้นเป็น เจดีย์ที่เขาเคารพนับถือมาก่อน
ว่ามีผีมีเทวดาสิงสถิตอยู่ เป็นที่สักการะบูชาของเขามาก่อน
พอไปทำลายของเขาก็ตำหนิ การตำหนินี่แหละที่พระพุทธเจ้า
ถือเป็นข้อเสียหาย กับการปลูกศรัทธาให้เกิดขึ้น
กับประชาชนที่ไม่เข้าใจ เขาไม่เข้าใจ เราจะสังเกตุเห็นได้ว่า
การบัญญัติพระวินัยในแต่ละข้อ ละข้อ คือโอนอ่อนผ่อนตามศรัทธา
เพื่อที่จะรักษาศรัทธาเขาไว้ อย่างตัดต้นไม้นี้ก็เช่นเดียวกัน
หรือพรากของเขียว อันนี้ ก็เช่นเดียวกัน ชาวบ้านเขาจะมอง
แล้วก็ตำหนิ ตำหนิพระว่า ทำอะไรเหมือนกับชาวบ้าน
เหมือนชาวบ้าน หรือพูดอีกอย่างว่า ทำอะไรเหมือนกับชาวบ้าน
ผู้บริโภคกามคุณ นั่น…! เขาย้ำขนาดนั้นนะ
ทำอะไรเหมือนกับชาวบ้านผู้บริโภคกามคุณ
พอเขาตำหนิอย่างนี้นั้นก็หมายถึงว่า เขาไม่ศรัทธาแล้ว
ไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใส ก็ไม่ศรัทธาไม่เลื่อมใสก็คุยกันไม่รู้เรื่องนะ
บิณฑบาตก็ไม่ได้กินแหละ ถ้าลักษณะอย่างนี้
ฉะนั้นเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้บางทีมันก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นมาได้
กับศรัทธา ถ้าคนที่มีความหนักแน่น หรือผู้ฉลาดรู้เข้าใจ

อย่างเช่นแม่วิสาขามหาอุบาสิกานิ ที่ท่านเห็นข้อบกพร่องของพระเนี้ย
ท่านก็เอามาเป็นแนวทางในการที่จะต่อเติมเสริม
อย่างเรื่องผ้าอาบน้ำฝนอย่างนี้
ที่แม่วิสาขาให้คนใช้ไปนิมนต์พระว่าอาหารเสร็จแล้ว
ไปนิมนต์พระมารับบิณฑบาตได้ พอคนใช้ไป
พอดีฝนมันตก พระก็เห็นฝนตก ยังไม่ถึงเวลาที่จะไปฉันภัตตาหารที่บ้านโยม
ก็ถือโอกาสนั้นสงฆ์น้ำเสียเลย แต่ทีนี้มันไม่มีผ้าอาบน้ำ
ก็ต้องเปลือยกายอาบน้ำ น้ำฝนก็คงไหลที่รางน้ำหรือกลางแจ้ง
คนใช้นางวิสาขาเข้าไปในวัดไปเห็น ก็ตกใจ…!
วิ่งกลับมาบอกแม่วิสาขาว่าที่วัดไม่มีพระเลย มีแต่พวกชีเปลือยเต็มวัดอยู่
เท่านั้นแหละ แทนที่นางวิสาขาจะตำหนิใช่ไหม..
ตำหนิว่าโอ๊ว…พระทำไมต้องมาแก้ผ้าอาบน้ำฝนอย่างนี้
ไม่ตำหนิแต่ท่านนึกได้ว่าพระพุทธเจ้ายังไม่เคยอนุญาติให้พระใช้ผ้าอาบน้ำฝน
ดังนั้น ตรงนี้เธอจะไปขอ ขอพรกับพระพุทธเจ้าว่า
ขอโอกาสให้ถือโอกาสถวายผ้าอาบน้ำฝนได้ไหมพระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาติเลย พระก็มีผ้าอาบน้ำฝนมาตั้งแต่นั้นแหละ
ถ้าเป็นคนอื่นก็โพนทนาติเตียนไปเฉยแหละ ก็เป็นเหตุ
พระพุทธเจ้าก็บัญญัติเหมือนกันว่าบัญญัติว่าพระไม่ให้เปลือยกายอาบน้ำ
ทีนี้จะไปหาผ้าที่ไหนละ บัญญัติไม่ให้เปลือยกายอาบน้ำก็ต้องมีผ้าต้องหาผ้า
อย่างนี้ แต่นางวิสาขาท่านฉลาด ก็เลยขอพรจากพระพุทธเจ้า
ว่าขอโอกาสถวายผ้าอาบน้ำฝนกับพระ ก็เลยทรงบัญญัติว่าเป็นข้อปฏิบัติขึ้นมา
ว่าให้ใช้ผ้าอาบน้ำฝน หรือแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนก่อนฤดูฝน 15 วัน

นัยของพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัตินี้
ในข้อภูตคามนี้ก็เช่นเดียวกันแหละ
ทรงบัญญัติเพื่อรักษาศรัทธา ศรัทธาของมหาชน
ไม่ให้เขามองว่าพระมีพฤติกรรมเหมือนกับฆาราวาส
บางที่บางแห่งก็ไม่ได้สนใจเรื่องข้อปฏิบัติเหล่านี้
จริง ๆ ถ้าพูดถึงว่ามันมีข้อยกเว้นไหม มีนะ ข้อยกเว้น
อย่างเช่นเกิดอสรพิษกัดตอยอย่างเนี้ย
ก็สามารถที่จะพรากของเขียวที่เป็นยามาเขี้ยวมาพ่น
หรือมาโขลกมาตำยา เพื่อรักษาชีวิตได้
ก็มีข้อยกเว้นให้อยู่ แต่อีกนัยหนึ่ง
ก็เข้าหลักที่ว่า ที่ตัวอย่างที่ว่า แผ่นดินถล่ม
พระจะไปขุดดิน พระจะไปตัดต้นไม้เพื่อเอาตัวรอด
อันนี้ต้องให้เห็นแก่ธรรมะนิ
เห็นแก่ธรรม เห็นแก่วินัย หมายถึงว่า ยอมสละ
ยอมสละชีวิต เพื่อรักษาธรรม
ยอมสละชีวิตเพื่อรักษาพระวินัย
ก็แล้วแต่บุญวาสนาว่ารอดไม่รอด
ก็ต้องมีคนอื่นมาช่วย ถ้าไม่มีคนอื่นมาช่วยก็ยอม
ยอมตาย ยอมตายกับธรรมวินัย เป็นควาเสียสละที่ยิ่งใหญ่แหละ
เป็นการบูชา เป็นการบูชาพระธรรมวินัย แต่ไม่ได้หมายถึงเจตนา
หรือตั้งใจที่จะทำร้ายชีวิตตนเองเพื่อบูชา
เหมือนกับที่เขาว่า ตัดคอถวายพระพุทธเจ้านี้ไม่ใช่อย่างนั้น
จะไม่ทำบาปผิดพระวินัยเพื่อรักษาพระวินัยไว้
ไม่ให้บาปเกิดขึ้น เหมือนกับถ้าบาปมันเกิดขึ้น
มันก็เป็นโทษติดตัวไป

อย่างเรื่องของเอรกปัตตนาคราช ที่ท่านทั้งหลายคงเคยได้ยินอยู่
ที่เป็นพระเป็นพระในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ก็คือพระพุทธเจ้า องค์ที่ 3 ในภัทรกัปนี้
คือในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้า ผ่านมาแล้ว 3 พระองค์
พระกกุสันโธ,พระโกนาคมโน,แล้วก็พระกัสสโป
นิ 3 องค์ผ่านมาแล้ว ปัจจุบันนี้องค์ที่ 4 คือโคตะโมนิ
แล้วท้ายกัปล์ก็นี้โน้น พระศรีอริยเมตไตร นั้นองค์ที่ 5
เพราะฉะนั้นองค์ที่ 4 ปัจจุบัน
องค์ที่ 3 คือ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
ภิกษุรูปนั้นอยู่ประพฤติอยู่ในพระศาสนาของ
พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า ในยุคที่มนุษย์มีอายุนานถึง 2 หมื่นปี
มีอายุ 2 หมื่นปี เจริญสมณะธรรมอยู่
จนมรณะ แต่ก่อนมรณะนั้น เป็นไข้ อาพาธอยู่ในป่าอยู่องค์เดียว
อาพาธหนัก ก็นึกถึงคุณงามความดีที่ตนเองทำมาตั้งแต่บวช
มาจนถึงปัจจุบันนี้นะ เกิดความดีใจแหละ
เพราะประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมในศีลในธรรมมาดีงามโดยตลอด
แต่พอมาถึงตอนที่ข้ามแม่น้ำ นั่งเรือข้ามแม่น้ำ
เอามือไปราน้ำ ตะไคร่น้ำมันขาดติดมือ
แต่ก็ไม่ได้หยิบไปไหนหรอก ก็เพียงแต่สลัดทิ้ง
ก็คงคิดเพียงแต่ว่าเออ…มันอยู่ในน้ำเล็ก ๆ น้อย ๆ คงไม่เป็นอะไรมาก
ไม่ถึงกับตาย แต่มันขาดจากที่เคลื่อนจากที่
แต่ไม่ถึงกับตาย คือตอนนั้นคิดอย่างนั้น
แต่พอตอนนี้นึกสงสัยว่า เอ…มันจะเป็นอาบัติหรือเปล่า
นิสงสัย พอสงสัยปุ๊บนี้ต้องแก้ใช่ไหม
สงสัยแล้วขื่นทำลง 1 นิ
ถ้าสงสัยต้องรีบแก้ ถ้าไม่สงสัยก็แล้วไป
อันนี้ท่านสงสัยนิ ก็เหมือนกับที่เราสงสัยเวลาเอาบาตรมาตั้ง
เอ๊ะ…!มีคนมาจับของเราหรือเปล่านิ สงสัยแต่จริง ๆ ไม่มีคนจับแต่ก็สงสัย
ฉะนั้นจะต้องประเคนใหม่ อย่าฉันทั้งที่สงสัย
ถ้าสงสัยก็เป็นอาบัติทันที
ฉะนั้นท่านสงสัย ทีนี้ก็รอว่าจะมีพระผ่านมาหรือเปล่า
จะได้ปลงอาบัติปรากฎว่าไม่มีพระผ่านมา ตรงที่ท่านพักอยู่
ท่านก็เลยมรณภาพด้วยความสงสัยต่ออาบัติที่พรากของเขียวนั้นแหละ
นิ ภูตคาม อันนี้ พอมรณภาพไปก็ไปเกิดเป็นนาคนั้นแหละ
ที่ท่านกล่าวไว้ เป็นเอรกปัตตนาคราช
เป็นนาคก็เป็นนาคประเภทหากินกบกินเขียด หากินของคาวของสด
เป็นนาคอยู่ นึกขึ้นได้ว่าโอ้…เราเป็นพระบวชตั้ง 2 หมื่นปี
ไม่สามารถที่จะเจริญสมณะธรรม ให้ได้คุณธรรมชั้นสูงได้
ดูสิทำมาตั้ง 2 หมื่นปีมาเสียท่าแค่นี้ ก็เลยให้ลูกสาว
แต่งเพลงให้ลูกสาวขึ้นมาร้อง ขึ้นมาร้องอยู่บนโลกมนุษย์นิว่า
เพื่อที่จะให้ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้า เกิดขึ้นหรือยัง
นั้นผ่านไป 1 พุทธันดร ท่านทั้งหลายลองคิดดู
1 พุทธันดร ระยะจากมนุษย์อายุ 2 หมื่นปี
มาถึงยุคของพระพุทธเจ้าของพวกเราเนี้ย
อายุ 100 ปีนิ 1 พุทธันดรนะ
1 พุทธันดร ว่างจากพระพุทธเจ้าอยู่ช่วงหนึ่ง
แล้วก็มาพุทธเจ้าของพวกเรา
มาตรัสรู้เมื่อ 2 พันกว่าปีมานี้เอง ช่วงที่ว่างจากพระพุทธเจ้า
พอให้ลูกสาวมาร้องเพลง เพื่อที่จะให้คนมาตอบ
แล้วให้รางวัลไปด้วยนะ ถ้าใครตอบได้จะยกลูกสาวให้เลยนิ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เกิดขึ้นในช่วงนั้นแล้ว
อันนั้นก็เป็นเหตุที่ว่า
ต่างคนก็ต่างมาร้อง ต่างคนก็ต่างมาร้องเพลงแก้
ก็ตอบไม่ถูกสักคนที่เขาถามว่าอะไร ที่ว่าเป็นใหญ่เลอเลิศที่สุด
ที่พูดเมื่อเช้านั้นนะ
(กล่าวธรรมข้อนี้ในรายการ ธรรมะก่อนฉัน วันที่ 24 มกราคม 2565)
อะไรเป็นใหญ่ที่สุด อะไรที่เรียกว่าธุล
คนที่มีความกำหนัดยินดีเขาเรียกว่าอะไร
เขาถามอย่างนี้ ประโยคแรกที่ถาม
ก็ไม่มีใครไปตอบได้ จนกระทั่งอุตรมานพมา
พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นแล้วว่า
เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์จังหวะปะเหมาะ กับการที่จะประกาศข้อธรรม
อาศัยอุตรมานพนี้ เป็นผู้ที่มีบุญมีบารมี
ที่จะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน แล้วจะได้ประกาศเป็นข้อธรรม
ก็เสด็จไปดับนั่งประทับนั่งอยู่ริมทางใต้ต้นสะเดา
สะเดากำลังออกดอก นึกว่าจะมีใครเอาสะเดาหวานมาถวาย
น้ำพริกสะเดา แต่ไม่ใช่
ท่านไปนั่งดัก คนก็หลั่งไหลไปดูนางนาคมาณวิกา
เพราะมาทุกวันพระเดือนละครั้งหรือเดือนละ 2 ครั้งทำนองนี้
คนก็หลั่งไหลมาดู มาตอบไม่มีใครมาตอบได้
อุตรมานพมาพุทธเจ้าไปนั่งดัก ก็เลยเรียกไอ้หนูมานั่งนี้
จะไปไหน ไปร้องเพลงตอบ ไหน ๆ ว่ามาสิ เพลงเธอร้องว่ายังไง
เอ้ย….อย่างนี้ไม่ถูกหรอก เดี๋ยวหลวงตาจะสอนให้
(ถ้าพูดแบบกันเองแหละเนาะ) ก็สอนให้นั้นไง
เขาจะถามเธอว่าอะไรเป็นใหญ่ ผู้ที่ว่าเป็นใหญ่ ๆ นิ
ก็คือคนที่เขาใช้คำว่าราชา บอกว่าเป็นใหญ่นิ
เป็นใหญ่จริง ๆ นั้นคือ เป็นใหญ่ประเภทไหน
คนที่ว่ามีธุลีบนศีรษะนิ คือคนประเภทไหน
คนที่ไม่มีธุลีบนศีรษะ คือใคร ?
คนที่มีธุลีบนศีรษะนิ คือใคร?
พระองค์ก็เลยสอนให้ ถ้าเขาถามอย่างนี้
ต้องตอบอย่างนี้ คนที่เป็นใหญ่ที่สุด ที่ว่าเป็นใหญ่ที่สุด
ต้องอยู่เหนือ อารมณ์ทั้งหก ที่เข้ามาทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ
นี่เรียกว่าใหญ่ที่สุดในถวารทั้ง 6 ควบคุมถวารทั้ง 6 ได้
ไม่หวั่นไหวใยดีต่อรูปเสียงกลิ่นรส สัมผัสอารมณ์ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
กันไว้ได้หมด รู้เท่าทันหมด ถึงจะเรียกว่าใหญ่จริง
แต่คนที่ว่า เป็นผู้ใหญ่จริง แต่ว่ายังมีธุลีอยู่บนศีรษะอยู่คืออะไร
บอกว่าใหญ่จริง ๆ ใหญ่จริง แต่ว่ายังคั่นศีรษะอยู่
ใหญ่จริงแหละ ประกาศว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่จริง แต่ว่ายังเป็นผู้มีความกำหนัดยินดี
ก็คือราคะ โทสะ โมหะ ในจิตอยู่
พวกนี้ก็จะเป็นคนหงุดหงิดงุ่นง่านฟุ้งซ่าน มีโลภะโทสะโมหะในจิตใจ
แล้วคนประเภทนี้เขาเรียกว่าอะไร ก็เรียกว่าคนพาล
เขาเรียกว่าคนพาล แล้วถามต่อไปอีก ว่าคนพาลอะไรพาไป
มานพ พระพุทธเจ้าก็สอนต่ออีกนะ คนพาลก็ห้วงน้ำพาไป
พัดไปหมุนไปห่วงน้ำมีอะไร ห้วงน้ำมีอะไร กาโมฆะ ห้วงน้ำคือกาม
ภโวฆะ ห้วงน้ำคือภพ ทิฏโฐฆะ ห้วงน้ำคือ ทิฏฐิ
อวิชโชฆะ ห้วงน้ำคืออวิชชา ห้วงน้ำนั้นแหละพาไป
ส่วนบัญฑิตนั้นสามารถที่จะต่อต้านห้วงน้ำนั้นได้
ไม่ถูกห้วงน้ำพัดพาไปเพราะบัญฑิต เป็นผู้มีความเพียร เพียรเพื่อสลัดสละ
ซึ่งห้วงน้ำนั้นได้ ถึงจะเรียกว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่จริง
ก็มีหลายคาถาแหละก็จำมาพอพูดเป็นคราว ๆ ให้ท่านทั้งหลายได้ฟัง
ว่าเนี้ย….สุดท้าย พญานาคคอยเฝ้าอยู่นั้นว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วแนะนอน
ถึงทำให้มหาสมุทร สะเทือนเลื่อนลั่นเลย น้ำพุ่งขึ้นมา
โพล่ขึ้นมา แต่ที่โพล่ขึ้นมาไม่ได้โพล่ขึ้นมาเป็นพญานาคหรอก
โพล่มาเป็นมานพแปลงร่างเป็นมานพ มาเฝ้าพระพุทธเจ้าเลย
คนก็แห่ตามพญานาคมา พอมาเฝ้าพระพุทธเจ้านั่งอยู่ไกล ๆ โน้น
ไม่กล้าเข้ามาใกล้นะ อายอายพระพุทธเจ้า เพราะว่านึกได้ว่าตนเอง
เคยบวชมาในศาสนาพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประพฤติธรรมอยู่ 2 หมื่นปี ไม่ประสบผลสำเร็จก็อายพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าก็เทศน์ให้ชาวบ้านฟัง เทศน์ให้ฟัง เทศน์ให้ฟัง
พอเทศน์ให้ฟัง ทางโน้นก็นั่งน้ำตาซึม (พญานาค) นั่งน้ำตาไหล
พอคนทยอยกันไปก็เลยเข้ามาหาพระพุทธเจ้านั้นแหละ
พระพุทธเจ้าก็เลยพูดให้ฟัง พอถามรู้เรื่องก็รู้อยู่แล้วแหละ
พอถามรู้เรื่องก็เลยพูดให้ฟังว่านี่แหละ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
กิจโฉ มนุสสะปฏิลาโภ การได้รูปสมบัติเป็นมนุษย์ไม่ใช่ของง่ายนะ
กิจฉัง มัจจานะ ชีวิตัง การที่จะมีชีวิตอยู่ก็ไม่ใช่ของง่าย
กิจจัง สัทธัมมัสสวนัง การที่จะได้ฟังธรรมก็ไม่ใช่ของง่าย
กิจโฉ พุทธานุมุปปาโท การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่ใช่ของง่าย
อย่างการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า 1 พุทธันดรนี้
ที่ผ่านมาเนี้ย กว่าจะมาเกิดเนี้ยไม่ใช่ของง่าย
แต่ว่าเธอมาเกิดในชาตินี้เป็นพญานาค ได้เห็นพระพุทธเจ้า
ได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้า แต่ภพภูมิมันเป็นภพภูมิที่อาภัพ
คำว่าภพภูมิอาภัพเรียกว่าไม่สมควรที่จะได้บรรลุมรรคผล มรรคผลนิพพาน
ถ้าพูดถึงว่าได้ฟังธรรมข้อนี้แล้ว ถ้าไม่ใช่พญานาค ไม่ใช่ภพภูมิที่อาภัพ
ก็อาจบรรลุคุณธรรมอย่างน้อย อย่างต่ำก็พระโสดาบันแหละ
แต่ว่าไม่ได้ เพราะอะไร เพราะอยู่ในภพภูมิที่อาภัพ
คำว่าอาภัพ อะภัพพะ แปลว่าไม่สมควร
เป็นภพภูมิที่อาภัพ แม้จะฟังธรรมขนาดไหนก็แล้วแต่ ก็ไม่บรรลุ
เพราะว่าภพภูมิมันกันไว้ ขวางไว้
คือชาติภูมิอันนั้นคือหมูหมากาไก่มันได้ยิน
แต่ว่าไม่มีโอกาสที่จะบรรลุธรรม ได้ยิน
แต่สร้างจิตเลื่อมใสได้ แต่การที่จะบรรลุธรรมไม่ได้
เหมือนกับเราที่เป็นคนที่มีทิฏฐิมานะสูงนิ ฟังแล้วไม่โอปนะยิโกน้อมเข้ามา
ก็ฟังผ่านไปเรียนผ่านไปศึกษาผ่านไป โอกาสที่จะได้บรรลุประพฤติปฏิบัติตาม
แล้วบรรลุนั้น มันติดติดตรงความเห็นผิดมิจฉาทิฏฐิ ตัวนี้ แต่ว่าภพภูมิมันติดที่อาภัพ
มรรคผลนิพพานอันนี้จำกัดไว้มนุษย์เทวดาอินทร์พรหมเท่านั้นนะ
ต่ำลงไปกว่านั้นแล้วไม่ได้ ไม่มีวาสนาแหละต้องเปลี่ยนภพภูมิใหม่
ถ้าเปลี่ยนภพภูมิใหม่ก็ไม่แน่ว่าจะได้มาเกิดเช่นนี้หรือเปล่า
ฉะนั้นต้องสั่งสมคุณงามความดีให้มากพอทีเดียว
เหมือนกับต้องถือศีลนั้นแหละ อย่างน้อยที่สุดต้องศีล 5 นั้นแหละ

เหมือนกับท้าวสักกเทวราชไปพานางสุชาดาทีตายไปไปเป็นนกกระยาง
หากินปลาอยู่ริมน้ำนั้นแหละ
จะช่วยให้เกิดขึ้นบนสวรรค์นิ จะเอาขึ้นมาเลยทีเดียวก็ได้
แต่ว่าเธอไม่มีบุญวาสนา อยู่ไม่เป็นสุข
ละอาย ถูกคนโน้นเขาท้วงคนโน้นเขาถาม อาย…
ก็เลยลงมาพอลงมาถ้าอยากไปเกิดบนสวรรค์ก็ต้องรักษาศีลสิ
เป็นนกกระยางนิกินปลากินปูกินหอยเป็นอาหาร
จะรักษาศีลยังไง ข้อ ปาณา ข้อแรกก็รักษายากแล้ว
จะไปกินผักกินผลไม้ก็ไม่เคยกินนิ
ดังนั้นแหละหากินแต่ปลาตาย
พอไปหากินปลาตายมันก็ไม่ค่อยมีนิ ปลาไม่ค่อยตาย
พอเสร็จแล้วก็อด อดไปอดมาก็ตาย
ตายแล้วก็บุญยังไม่พอนะนั่น แทนที่จะได้ไปเกิดบนสวรรค์
กับท้าวสักกะ ไปเกิดแค่เป็นลูกช่างหม้อช่างปั้นหมอนิ
นั่น…ท้าวสักกะก็ลงมาช่วยอีก
พอลงมาช่วยอีกก็พอไปเกิดอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมแค่นั้นเอง
นั้นทำบุญตั้งเป็น 100 ปี ได้เป็นเกิดเป็นลูกช่างหม้อ
พอเป็นลูกช่างหม้อไปอยู่สวรรค์ชั้นจาตุม ไม่ได้ขึ้นไปชั้นดาวดึงส์
นั้น…ก็เลยมีเรื่องสงครามกันระหว่างเทวดาท้าวสักกเทวราชกับอสูร
เนี้ย.ที่ว่ารบกันไล่กันรบกันที่เราสวดอยู่ใน ธชัคคสูตร นั้นแหละ
เพราะเรื่องนี้แหละ
นั้นหนะ ขนาดรักษาศีลปฏิบัติธรรมให้ทาน 100 ปี ในชีวิตนั้น
ที่เกิดเป็นลูกช่างหม้อ ก็ยังไม่ได้ไปอยู่สวรรค์ชั้นสูง
ไปได้แค่สวรรค์ชั้นจาตุม ไม่ได้ไปถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ดูนิดูสิไม่ใช่ของง่ายนะ

ดังนั้นจะช่วยกัน ช่วยกันนี้ เรียกว่าถ้าภพภูมิที่อาภัพ
มันก็ช่วยได้ยาก ฉะนั้นต้องเปลี่ยนภพเป็นชาติ
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะไม่มีสิทธิ์ที่จะไปเปลี่ยนว่า
เป็นนั้นเป็นนี้แล้วแต่บุญกุศลคุณงามความดีของเขา
ที่ทำไว้ จะไปคติไหนภพไหน เป็นเรื่องของเขา
เรื่องของจิตดวงนั้น นั้นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ นิ
ที่ท่านกล่าวไว้ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
มันเป็นผล เป็นผลเสียต่อจิตใจ จิตนิถ้ามัน
ผ่องใสสดชื่นเบิกบานนิแค่นิดเดียว
มาสกิดเท่านั้นมันเป่ทันทีนะ
เหมือนกับเรานั่งกำลังสงบ ๆ เนี้ย
มีอะไรตกลงมาเป๊ะทีเดียวเนี้ยมันแตกหมดเลย
สมาธิกำลังลงดี ๆ กำลังสงบพุทโธ ๆ กำลังเบากำลังเกิดปิติ
กำลังสุข เป๊ะทีเดียวนิจบเลย
นิ มันเป็นอย่างนั้น เรียกว่าอารมณ์ที่มันมาแทรก
ถ้าพ้นแล้วอยู่เหนืออารมณ์เหล่านี้แล้วก็ไม่มีปัญหา
แต่ที่ความหมายหมายถึงว่า
จิตมันยังไม่สามารถ เจริญสมาธิได้ถึงขั้นปล่อยวาง
เราก็ต้องระมัดระวังข้อผิดพลาดเหล่านี้
อย่าให้มันเกิดขึ้น บางครั้งบางทีก็ยึดติดมากเกินไปก็
วิตกเหมือนกันแหละ เดินไปเหยียบหญ้าขาดนิโห…วิตก
ก็มาปลงอาบัติมันก็เกินเหตุนะบางทีนะ
วิตก หรือกวาดลานวัดไปสงสัยจะกวาดมด ตายไปตัวสองตัว
มาปลงอาบัติอีก อันนี้เขาเรียกว่าวิตกเกินไปไม่มีเจตนาก็ไม่บาป
ไม่มีเจตนา ถ้าเห็น ๆ อยู่ก็ไม่กวาด ให้เขาไปก่อน
ถ้ากวาดไปก็กวาดใบไม้ ฉะนั้นกวาดลานวัดทำกิจวัตร ก็ให้สำรวมหน่อยละ
ทำกิจวัตรกวาดลานวัดอย่ากวาดกันไปคุยกันไป เสียงเหมือนกับจะไปหาปูหาปลานิ
โห…กวาดตาดไปคุยกันไป มันต้องไปคนละมุมดิ
มุมโน้นมุมนี้
ไม่ใช่แห่กันไปเหมือนกับแห่กฐินนิใช่ไหม
เขากวาดตาดนำหน้ากองกฐินเคยเห็นไหม
ตีฆ้องตีกลองไปด้วย นี้ก็เหมือนกันนิ กวาดตาด 3 องค์ 4 องค์
คุยกันอีโล่งโฉงเฉง ไม่สำรวมแสดงให้เห็นหรือไม่สำรวม
ฟุ้งซ๋านเวลาคุยกันก็มีมากมายเยอะแยะ ทำไมมาคุยกันตอนทำกิจวัตร
ก็พยายามให้สำรวมกวาดไปภาวนาไป นึกไปสิ
ใบไม้มันล่วงลงมานิใช่ไหม
ใบไม้ล่วงถ้านึกให้ดี ๆ มันได้ธรรมวิเศษโน้นนะ
ขนาดดูใบไม้ล่วงเฉย ๆ ยังเห็นว่าอนิจฺจา วต สังฺขารา
ไม่ใช่ว่ากวาดเล่น ๆ สนุก ๆ เฉย ๆ นะ
เนี้ยสัจจธรรมทั้งนั้นแหละ ที่ท่านวางเป็นหลักไว้ เป็นรูปแบบของการประพฤติวัตร
ปฏิบัติธรรมทั้งนั้นเลย
นะ ที่เราทำกิจวัตรนิ อย่าไปให้มันเสีย เสียโอกาสเสียจังหวะ
เพราะเรามาประพฤติศึกษาเรียนรู้ประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม
เพื่อกำจัดโลภะโทสะโมหะ ในจิตใจของเรา
ต้องรู้ตัวอยู่เสมอว่า อันไหนควรอันไหนไม่ควร
แค่จิตมันคิดฟุ้งซ่านเรายังต้องจัดการกับมันนะ
จะป่วยกล่าวไปใยถึงการพูดการทำ ใช่ไหม
มันฟุ้งซ่านนะนิ ตบบ่องหูมันสักหน่อยสิ
มันเซื่องซึมก็ดึงหูมันสักหน่อยสิ ไม่ใช่ว่าปล่อยอารมณ์ไปตามอย่างงั้น
เขาจะเรียกว่า นักปฏิบัติธรรม เรียกว่ามาปฏิบัติธรรม
ก็ตั้งใจให้มันดีงามขึ้นในจิตใจเสมอดีขึ้นทุกวัน ๆ เป็นการดี
อ่ะไปไปเดินจงกรมกันทีนี้

ธรรมีกถายามเย็น

หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว
ณ วัดป่ามหาไชย
จันทร์ที่ 24 มกราคม 65

                  กึสุอธิปตี    ราชา                กึ   สุ   ราชา   รชสฺสิโร

                   กถํ   สุ   วิรโช   โหติ           กถํ   พาโลติ  วุจฺจติ ฯ

                   เกนสฺสุ   วุยฺหตี  พาโล          กถํ   นุทติ   ปณฺฑิโต

                   โยคกฺเขมี   กถํ   โหติ           ตมฺเม   อกฺขาหิ   ปุจฺฉิโตติ

               “ผู้เป็นใหญ่อะไรเล่า   ชื่อว่าพระราชา  ?   อย่างไรเล่า  พระราชา

                ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร ?  อย่างไรเล่า  ชื่อว่ามีธุลีไปปราศแล้ว ?

                อย่างไร   เรียกว่าคนพาล ?  คนพาลอันอะไรพัดไป ?  บัณฑิตบรร

               เทาได้อย่างไร ?  บุคคลย่อมมีธรรมเป็นที่เกษมจากโยคะ  อย่างไร ?.

                ท่านอันข้าพเจ้าถามแล้ว  จงบอกความนั้นแก่ข้าพเจ้า.”

 

WP Radio
WP Radio
OFFLINE LIVE
Scroll to Top
Scroll to Top