จะเข้าหาธรรม ต้องมีวินัย
เรื่อง จะเข้าหาธรรม ต้องมีวินัย
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว ภิกฺขุ 27 ม.ค. 65
นัยของพระวินัยปิฎก
เทศนาเกี่ยวกับการพูดตำหนิยกโทษภิกษุผู้ทำการสงฆ์
ที่สงฆ์ได้สมมุติก็คือประกาศ หรือแต่งตั้งให้เป็นผู้ทำหน้าที่
ถ้าผู้ทำหน้าที่นั้นทำหน้าที่ด้วยความถูกต้องดีงาม
ไม่มีอคติใด ๆ การกล่าวติเตียนก็เท่ากับว่า
เป็นการผิดระเบียบ ผิดข้อตกลง
ระเบียบปฏิบัติเหล่านี้
ถ้าพูดถึงว่าการติเตียนแบบก่อให้เกิดเสียหาย
ก็ถือว่าเป็นความคิดที่น่าละอาย เพราะไม่ได้หมายมุ่ง
ที่จะก่อให้เกิดคุณเกิดประโยชน์กับหมู่คณะ
แต่มุ่งหมายที่จะให้เสียชื่อเสียงกับบุคคล
ที่ทำหน้าที่นั้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
มันก็เหมือนกับเป็นการโกหกแหละ
แต่ท่านก็กล่าวไว้ว่าสิกขาบทนี้ บัญญัติมาก่อนการกล่าวโกหก
เพราะคำว่าติเตียนแบบกล่าวตู่ กล่าวให้เสียหาย
กล่าวเกินพอดี แสดงออกถึงสภาพทางด้านจิตใจที่ไม่ยอมรับ
ถึงสถานภาพความเป็นจริงของตนเอง ซึ่งท่านก็กล่าวไว้
ว่าท่าน 2 รูป นิ มีเรื่องที่เกิดขึ้นเยอะเหมือนกันนะ
กับท่านทัพพมัลลบุตร มีจิตอาฆาตพยาบาท ถึงขั้นว่ากล่าวตู่
อาบัติหนัก ๆ ก็เคยทำมาแล้ว พระทัพพมัลลบุตรนี้
ท่านเป็นพระอรหันต์ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เป็นผู้มีอภิญญา
ท่านบรรลุพระอรหันต์แล้วท่านก็ไตร่ตรองใคร่ควรญว่า
จะรับหน้าที่อันใดในพระศาสนานี้ช่วยเหลือพระพุทธเจ้า
ก็เลยขออนุญาติจากพระพุทธเจ้าว่า ขอเป็นผู้จัดแจงเสนาสนะ
ต้อนรับภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุผู้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทใหม่
ทำหน้าที่เป็นพระภัตตุเทศก์ คือจัดภิกษุไปในกิจนิมนต์
ที่มีศรัทธานิมนต์มา ก็เลยจัดไปตามลำดับ
และการจัดเสนาสนะ บุคคลที่มาพระที่มา ท่านก็เข้าใจจัดแหละ
ว่าองค์ไหนสนใจเรื่องพระวินัย ก็ให้ไปอยู่ในโซนพระวินัย
โซนพระสูตร โซนพระอภิธรรมอย่างเนี้ย องค์ไหนที่ ชอบเสวนาพูดคุย
ก็ให้ไปอยู่รวมกัน องค์ไหนอย่างไร ท่านก็จัดไว้ ๆ
ก็ได้รับการยอย่องแหละ ว่าเป็นผู้มีความสามารถในจัดแจงเสนาสนะ
จัดกิจนิมนต์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
มันก็ต้องมีผู้ตำหนิผู้ที่ไม่ชอบอยู่ดีนั้นแหละ เพราะทั้งนี้บุคคลผู้ที่กล่าว
ที่ไม่ชอบนั้น ก็คือไม่ยอมรับถึงสถานภาพของตนเอง
ว่าตนเองเป็นผู้มีบุญมีวาสนา น้อยมากอย่างไร
เมื่อสิ่งต่าง ๆ มันเกิดขึ้นตามวาระของตนของตนก็กลับกลายเป็นว่า
หาเรื่องให้กับผู้จัดแจง ดังในสิกขาบทก่อน ๆ โน้นที่กล่าวถึงว่า
นิมนต์ไปกิจนิมนต์ มีอยู่วันหนึ่งที่เศรษฐีมานิมนต์
ขอพระไปกิจนิมนต์ 2 รูป ท่านก็จัดให้ แต่พอจัดให้ถึงวาระท่านผู้นั้น
กลับกลายเป็นว่าเป็นวาระของพระ 2 รูปนี้ ทีนี้พอพระ 2 รูปนี้
ก็มั่นใจแหละว่าเป็นบ้านของผู้มีตระกูล ผู้เป็นเศรษฐี วันพรุ่งนี้มรืนนี้
ถึงวาระของตน ก็จะได้ฉันอาหารอันปราณีต แต่พอเจ้าภาพ
มาถามพระทัพพมัลลบุตรว่า จัดพระรูปไหนให้ พระทัพพมัลลบุตร
ท่านก็บอกว่าจัดพระเมตตรัยยะ กับ พระภูมะชะกะให้ เท่านั้นแหละ
ศรัทธาก็ไม่พอใจ ก็แสดงให้เห็นถึงว่า มีความมีพฤติกรรมที่ ไม่เป็นที่พอใจอยู่
ดังนั้นพอถึงวันที่จะ ไปกิจจริง ๆ เขาก็ไม่ได้จัดอาหารอันปราณีต
จัดให้แต่ข้าวต้มกับน้ำซาวข้าว กับน้ำส้มผัก เขาเรียกน้ำส้มผอูม
ก็หมายถึงว่า ให้ถวายข้าวต้มกับน้ำต้มผัก
เป็นผักเสี้ยนหรือผักกาดก็ไม่รู้นะ
น้ำต้มผัก กับข้าวต้ม
แล้วก็ไม่ได้นิมนต์เข้าไปข้างในด้วยให้นั่งอยู่ข้างนอกบ้านนั้นแหละ
เจ้านี้ทั้งสองท่านก็นึกว่าเขาคงจะให้
รองท้องไว้ก่อนเดี๋ยวเขาคงจัดอาหารไม่ทัน
ผลปรากฎว่า เขาก็บอกว่าถวายแค่นี้แหละ เท่านั้นแหละ
กลับมาก็น้อยใจอีกว่า ว่าพระทัพพมัลลบุตร
ไปยุยงศรัทธาอย่างไรให้ถวายอย่างนี้
แทนที่จะถวายอาหารอันปราณีตเพราะเป็นบ้านหลังใหญ่หลังโต
เป็นถึงเศรษฐีคฤหบดี ถ้าคิดมันคิดไม่ได้มันก็มุ่งประเด็นความเกลียดชัง
ไปที่คนจัดการ ก็เลยเป็นเหตุหาวิธีที่จะกลั้นแกล้งที่จะทำลาย
ถึงขั้นว่ากล่าวหาว่าท่านเป็นอะไรกับนางภิกษุณี
หรือว่าเป็นอะไรกับแพะกับแกะไปโน้นเลย…
ในลักษณะอย่างนี้ ผู้ไม่เข้าใจในบุญวาสนาของตนเอง
ถ้าเราเข้าใจในบุญวาสนาของตนเองนิ มันจะทำให้การประพฤติปฏิบัติเรา
ราบรื่นดีงามนะ เรื่องเหล่านี้เคยมีปรากฎ
เมื่อครั้งเป็นสามเณรโน้น
อยู่ที่อุดรนิ วัดป่านิโคธาราม มีหลวงตาอยู่องค์หนึ่งไปในกิจนี้ด้วยกัน
หลวงตาท่านคุยสนุกนะ พอวันนั้นวันเกิดหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
วันเกิดของท่านโดยปกติ สิ่งของอันใดท่านรับมา ที่ศรัทธาญาติโยมถวาย
ท่านก็ให้เขาเก็บไว้ ๆ พอถึงวันเกิดท่าน ท่านก็เอามาทำเป็นสลาก
เพื่อให้พระจับสลากแล้วก็ถวาย เป็นไตรจีวรบ้าง เป็นบาตรบ้าง
เป็นบริขารอื่น ๆ เป็นนาฬิกาเป็นช้อนเป็นมีดตัดเล็บ ของเครื่องใช้
อันสมควรอันสมณะจะบริโภคนั้นแหละ ท่านเก็บไว้ ก็ทำเป็นสลากให้พระ
กำลังนั่งฉันก็แจกสลาก หลวงตานั้นท่านบอกว่า ผมไปหลายงานนะ
ไปงานไหน งานไหน ไม่เคยโชคดีกับเขาสักที…
เป็นบุญเป็นวาสนาของผม ผมไม่เคยโชคดี
ได้จับสลากแต่ของไม่ดี ท่านก็พูดอย่างงั้น คอยดูนะ..ท่านว่า
คอยดูนะ…ท่านว่า พอสลากมาถึงแล้วท่านก็เปิดเบอร์ออกดู
เบอร์นิ เขาก็เขียนไว้แหละ จำไม่ได้ว่าเบอร์อะไร
เอาเป็นว่าเบอร์ 10 ได้ช้อนซ่อม นะน่าน….ผมว่าแล้ว หนะเห็นไหม
วาสนาผมได้ช้อนซ่อม คนโน้นเขาได้นาฬิกา
คนโน้นเขาได้ถุงได้ข้าวของดี ๆ ท่านละได้ช้อนซ่อม
นั่นเป็นลักษณะ ถ้าเข้าใจในบุญวาสนาของตนเองก็ไม่มีปัญหา
แต่ถ้าไม่เข้าใจละ ปัญหามันก็เกิดขึ้นแล้ว ว่าไปแกล้งเขา
แกล้งท่านลักษณะอย่างนี้
ก็เหมือนพระสารีบุตรเถรเจ้า ผู้ที่ไม่ชอบท่านก็มี
เวลาท่านเดินไป ชายจีวรไปถูกพระรูปนั้น พระรูปนั้นก็หาว่าพระสารีบุตรแกล้งอีก
ทำชายจีวรไปถูกท่าน มาฟ้องพระพุทธเจ้านู้นนะ
ดูสิ คนอย่างนี้ก็มีนะ พระสารีบุตรท่านไม่เคยมีความปราถนาร้ายต่อใคร ๆ
มีแต่ความปราถนาดีเท่านั้นในจิตใจของท่าน
อย่างนี้ก็มี หรือว่าแม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระผู้เป็นบรมครูของพวกเราก็เหมือนกันแหละ คนที่คิดร้ายต่อพระองค์ ก็มากมาย
คิดดีต่อพระองค์ก็มากมาย โดยเฉพาะคนที่คิดร้าย
แม้…พระองค์จะทรงแสดงธรรมแนะนำพร่ำสอนด้วยพระเมตตาการุณดีงาม
สักเพียงใด ผู้ที่ไม่ยอมรับ ไม่เห็นดีด้วย ยังมีจิตคิดอาฆาตพยาบาท
อยากจะทำลายทำร้าย ก็มีมากมาย ทั้ง ๆ ที่พระองค์ก็แสดงธรรมทุกวัน ๆ
ประกาศธรรมนั้นทุกวัน ๆ เจ้าลัทธิต่าง ๆ ครูต่าง ๆ ศาสดาต่าง ๆ
ได้ยินได้ฟัง ก็ได้ยิน…แต่ว่าไม่ได้ใส่ใจไม่ได้สนใจเอามาไตร่ตรองใคร่ครวญ
ประเภทนี้ก็มี ประเภทที่ได้ยินแล้ว วิ่งเข้าหาเลยว่าดีจริง ๆ อย่างนี้ก็มีเยอะแยะ
อันนี้เป็นของธรรมดา ที่มีอยู่กับสังคม มีอยู่กับโลก
สมกับที่โบราณท่านว่า คนที่ไม่ชอบใจ แม้พูดดีสักเพียงใด เขาก็ไม่ใส่ใจ
คนที่ไม่ชอบใจ จะให้พูดีอย่างไรสอนดีอย่างไร แนะนำอย่างไร
ก็กลับกลายเป็นว่าเราไปตำหนิ เราไปว่าเราไปด่าเขา แต่ถ้าคนที่ชอบละ
ด่าแล้วด่าอีกว่าแล้วว่าอีก ก็ไม่ได้ตกใจไม่ได้เสียใจนะชอบใจอีกต่างหาก
ดี … ท่านแนะท่านนำท่านสอนท่านบอกท่านดุท่านด่า
ก็เหมือนกับท่านให้ศีลให้พร นั่นอย่างนี้มันก็มี ฉะนั้นโลกเนี้ย ที่เราได้เรียนรู้ศึกษา
เกี่ยวกับธรรมเกี่ยวกับวินัยที่ เป็นมูลเหตุของการบัญญัติสิกขาบท
มันก็คือกระบวนการของบุญของบาปกระบวนการของกิเลส ตัณหา
ที่มันแสดงตัว ทั้ง ๆ ที่ธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศ
ทรงประกาศเพื่อให้ลดละทิฐิมานะ ลดละความโลภความโกรธความหลง
ราคะ โทสะ โมหะ ให้ประพฤติ อ่อนน้อมถ่อมตน ให้มีสัมมาคารวะ
ให้รักสงบ เจริญสมณะธรรมมุ่งมั่นต่อการที่จะบริหารจัดการจิตใจของตนเอง
ให้ออกห่างจากมวลกิเลสทั้งหลายเหล่านี้ สอนให้สำรวมสอนให้ระมัดระวัง
สอนให้มีสติ ให้มีสัมปชัญญะไม่ให้ประมาท สอนให้มีความอดทน
อดทนต่อความร้อนความหนาว อดทนต่อความหิ้วความกระหาย
อดทนต่อความทุกข์ยากลำบาก เจ็บปวดร่างกาย หรือแม้กระทั่ง
อดทนต่อคำพูดคำจา หรืออากัปกิริยาที่มันมากระทบ
ทั้งมีเจตนา หรือไม่มีเจตนาก็แล้วแต่ ที่มากระทบต้องมีความอดทนถึงขนาดนั้น
จึงจะสามารถยกระดับจิตของตนเองให้ขึ้นสู่มรรคสู่ผลได้
นี่แหละคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นไปในทางนี้ แต่ว่าสิ่งต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นจนเป็นเหตุให้พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทนี่
มันเป็นเรื่องที่เราควรเอามาไตร่ตรองใคร่ครวญพิจารณาว่า..โอ….
มวลมนุษยชาติทั้งหลายนิ ผู้มุ่งมั่นต่อมรรคต่อผลก็คอยเงียหูฟัง
ข้อปฏิบัติแนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมาย ถ้าผู้ไม่ได้มุ่งมั่นอย่างนั้น
มุ่งมั่นไปทางอื่น ก็ไม่ได้ใส่ใจไม่สนใจแหละ เห็นว่าสิ่งเหล่านี้
เป็นโทษกับตนเองด้วยซ้ำ เป็นข้อเสียหายกับแนวทางของตนเองด้วยซ้ำ
ก็เหมือนในยุคปัจจุบันนี่แหละ ทั้ง ๆ ที่พระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ดีแล้ว
ก็พยายามที่จะหาทางลดแลกเล็ดลอดออกไป
เพื่อที่จะหาแนวทางทำเพื่อให้มันสนองตอบต่อกลมารยากิเลสตัณหาทั้งหลาย
มันก็คือตัวกิเลสนั้นแหละ มันเป็นผู้ยุยง เป็นผู้แนะนำเป็นผู้ชักชวน
อย่าไปทางนี้! ไปทางนี้ดีกว่า ความขี้เกลียดขี้คล้าน ความมักง่าย
ซึ่งมันเป็นชื่อของกิเลสทั้งนั้นแหละ ที่มันคอยยุยง
จิตของเรานิให้หมุนไปตามที่มันต้องการ
พอมันเดือดร้อนแล้วมันก็หนี ใครเดือดร้อนละ
ก็ใจของเรานี่แหละเดือดร้อน
ตัวของเรานี่แหละที่มันเดือดร้อน
นั้นละเราเชื่อกิเลส ถ้าเราเชื่อธรรมะเราก็ต้องสู้กับกิเลสอีก
เพราะกิเลสนี้มันคอยยุคอยดึงคอยหาเรื่องนิ
ก็ต้องอดทนสู้กับมันเข้าใจหรือทันในกระบวนการของมัน
มันมีอุบายวิธี นานับประการที่จะทำให้เราหลง
ฉะนั้นเราจึงสร้างสติ สร้างปัญญา
มีสติมีปัญญา เฉลี่ยวฉลาดพอที่จะรู้เท่าทัน
ฉะนั้นที่เรียนธรรมะทั้งหลายทั้งปวงนี้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรมไว้
84,000 พระธรรมขันธ์ ที่ท่านรวบรวมไว้นิ
ไม่ว่าจะเป็นพระวินัยพระอภิธรรมพระสูตรนิล้วนแล้วแต่เป็นข้อธรรมที่
ทรงตั้งขึ้นมาหรือทรงบัญญัติขึ้นมาเพื่อ เป็นคู่ปรับ คู่ปรับกับกิเลส
แสดงว่ากิเลสมันมีมากขนาดนั้น
ก็คงเหมือนกับยาที่เขาผลิตขึ้นมานี่แหละ
โรคมันมีกี่ชนิด เขาก็ผลิตยาขึ้นมาเพื่อที่จะกำจัดโรคนั้น ๆ
โรคมีร้อยชนิดยาก็ต้องมีร้อยชนิด โลกมีหมื่นชนิด แสนชนิด
ยาก็ต้องมีเป็นหมื่นเป็นแสนชนิด ถึงจะสามารถกำจัดโรคภัยไข้เจ็บนั้นได้
กิเลสที่มันมีอยู่มากมาย ก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนธรรมะ
สอนแล้วสอนอีก 45 ปี ท่านทั้งหลายก็ลองคิดดูว่า
ใช่ย่อยเหรอ เทศน์ทุกวันสอนทุกวัน แนะนำพร่ำสอนทุกวัน
กว่าจะมีมาปรากฎให้เราท่านทั้งหลาย ได้เรียนรู้จดจำ
เอามาเป็นข้อประพฤติปฏิบัตินี้ มันก็ต้องขอบคุณผู้ที่ก่อเหตุนั้นแหละ
ถ้าไม่มีท่านเหล่านั้นก่อเหตุ ถ้าพระพุทธเจ้าเทศน์ตั้งแต่ธรรมะไว้อย่างเดียวนิ
ไม่วางหลักพระธรรมวินัยไว้นิ มันก็คงจะเลือนลางไปหมดแล้วป่านนี้
ฉะนั้นจะเข้าหาธรรมต้องมีวินัย ถ้าไม่มีวินัยจะเข้าหาธรรมไม่ได้
เมื่อประพฤติวินัย ธรรมมันก็อยู่ในพระวินัยนั้นแหละ
เมื่อประพฤติธรรมวินัยมันก็มีโดยอัตโนมัติ
ฉะนั้นผู้ที่ไม่ประพฤติพระวินัยนั่นก็หมายถึงว่า
ไม่ต้องการธรรมผู้ไม่ปฏิบัติธรรมนั้นก็หมายถึงว่า
ไม่ประพฤติในพระวินัย เพราะมันเป็นอันเดียวกัน
เป็นเนื้อเดียวกันเลยแหละ ท่านถึงเรียกว่าธรรมวินัย
เป็นพระพุทธเจ้าองค์เดียวนั้นแหละไม่ได้มีองค์อื่น
ไม่ใช่ว่าองค์นี้วินัย องค์นี้ธรรมนะ พระพุทธเจ้าองค์เดียว
พุทธะองค์เดียวนี่แหละที่รวมอยู่ในนั้นเหมืนกับ
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่พระองค์ทรงนิพนธ์ว่า
พุทโธก็ดี ธัมโมก็ดี สังโฆก็ดี รวมกันเป็นพระรัตนตรัย
คือรวมกันเป็นพระรัตนตรัย ทีนี้ถ้าจะจับพุทโธ ก็ต้องถูกธัมโมสังโฆ
ถ้าจับธัมโม ก็ต้องถูกพุทโธสังโฆ
ถ้าจะจับสังโฆก็ต้องถูกพุทโธ สังโฆ
เพราะว่าคำว่า สังโฆนิ ตัวข้อสุดท้าย ทำไมถึงถูกข้อพุทโธ ธัมโมละ
ก็เพราะว่าคนที่จะได้ชื่อว่าเป็นสงฆ์ สงฆ์ในที่นี้หมายถึง
สงฆ์ในธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่สงฆ์อื่นนะ ฆนาวา สังขาวา
คณะก็ดี สงฆ์ก็ดีนิ 2 คณะ นิ สองคำนี้มันต่างกันนะ
คณะอื่น ๆ เราจะเรียกว่าคณะราษฎร คณะนั้นคณะนี่
อันนั้น นี่คือคณะของกิเลส ไม่ใช่คณะสงฆ์ แต่ถ้าเป็นคณะสงฆ์นี้
จำกัดเลย ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
หมายถึง สงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งประกอบ ไปด้วยพระโสดา พระสกทาคา พระอานาคา พระอรหันต์
นี่แหละ คือสงฆ์ที่แท้จริง ก็ต้องมีธรรมะ ก็หมายถึงปฏิบัติตามธรรม
และธรรมอันนั้นใครเป็นผู้สอนของพระพุทธเจ้าสอน นั่น…
เรียกว่าจับสงฆ์ก็ถูกพุทธะ ธัมมะ จับธัมมะก็ถูกสังฆะถูกพุทธะ
จับพุทธะก็ถูกธัมมะสังฆะ
จึงเป็นเนื้ออันเดียวกันท่านว่ากล่าวไว้ชัดเจน
ฉะนั้นการประพฤติปฏิบัติที่ เราได้เรียนรู้ศึกษาประพฤติปฏิบัติมา
ก็พยายามโอปนยิโก น้อมเข้ามาไตร่ตรองใคร่ครวญ
เพียรพยายามประพฤติปฏิบัติ เรื่อยไปอย่าท้อถอย ได้มากได้นอน
ขอให้ธรรม อย่าเอามาเป็นข้ออ้างนู้นนี่ ว่าไม่สะดวกไม่สบาย
มีขัดข้องเช่นนั้นเช่นนี้แหละ มันเป็นกลมารยาของมารและเสนามารทั้งนั้นแหละ
ไปได้เวลาไปเดินจงกรมกัน
วันนี้ไปแวะเยี่ยมหลวงตาเกลี้ยง หมอเขาก็บอกว่า
ขาดอาหาร ขาดสารอาหาร ไม่ค่อยฉันผลไม้ ขาดอาหารที่ควรจะได้จากผลไม้
จัดอาหารตอนเช้า ๆ ก็เห็นผลไม้เยอะอยู่นะ แต่ไม่ค่อยฉันละมั่ง
ไม่ค่อยฉันผลไม้ ผู้เฒ่า ให้ครูบาทิวาดูแลก็ถูกจริตกันแหละ
เจ้านั้นก็สบายบรื้อเลยแหละ นอนนั่งมือหงิกไปเลยแหละ
นอนมือหงิกนั่งมือหงิกไปเลยแหละ นั่งเฝ้าจนมือหงิกหมายความว่ายังไง ถูกจริตเลยแหละ
(หัวเราะ) วันนี้ก็ไปบริจาคเลือดมา ไป 10 ได้ 8 ใช่ไหม
ก็ถือว่าเยอะนะ
ธรรมีกถายามเย็น
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว
ณ วัดป่ามหาไชย