ด้านการสงเคราะห์สงคม
“เพื่อการสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อน ในการแก้ไขปัญหาสังคมและเพื่อการพัฒนาการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนเป็นสังคมที่สงบร่มเย็น”
การสงเคราะห์ หมายถึงการช่วยเหลือในด้านต่างๆ แก่บุคคลต่างๆ ที่ประสบปัญหาความขาดแคลนอดอยากยากไร้ ทุพพลภาพ ชราภาพช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือได้ยาก เด็กกำพร้าไร้ที่พึ่ง ผู้ประสบสาธารณภัย ตลอดจน สมณพราหมณ์ ผู้เป็นครู สอนศีลธรรมให้แก่สังคมการทำทาน กับการสงเคราะห์ต่างกันอย่างไรการทำงาน ในความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิอันดับแรกที่ผ่านมา เป็นการแบ่งปันสิ่งของที่เรามีอยู่เกินจำเป็นให้แก่ญาติมิตร เพื่อนฝูงเพื่อเป็นการช่วยเหลือกันเป็นรายบุคคลที่ประสบปัญหาเดือดร้อน หรือเพื่อแสดงน้ำใจไมตรีต่อญาติสนิท มิตรสหาย โดยที่แต่ละคนไม่ได้มีปัญหาทุกข์ยากอะไร บางครั้งก็อาจเป็นการแบ่งปันในลักษณะต่างตอบแทนน้ำใจไมตรีต่อกัน เช่น การให้ของกินของใช้แก่เพื่อนบ้านใกล้เคียงเป็นต้น
วัดกับการสงเคราะห์ชมชน
“พระช่วยโลกไม่ได้.....ใครเล่าจะช่วยได้”
กับคำว่า “พระช่วยโลกไม่ได้…..ใครเล่าจะช่วยได้” เป็นคำกล่าวของ หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ที่กล่าวไว้เมื่อครั้งท่านได้ออกมาช่วยชาติ นับแต่ท่านบำเพ็ญกิจของสมณเพศ อันเป็นกิจสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนาเรียบร้อยลงแล้ว ท่านก็หันมาให้การสงเคราะห์ด้านธรรมะแก่พระเณรและฆราวาสมาโดยตลอด ควบคู่ไปกับการบริจาคช่วยเหลือด้านวัตถุสิ่งของ ทั้งจตุปัจจัยไทยทาน แก่ประดยชน์ส่วนรวมตลอด ๔๐ กว่าปีนับแต่ตั้งวัดป่าบ้านตลอดขึ้นในปี ๒๔๙๘ ท่านเคยเล่าว่าหากจะนับเป็นมูลค่าน่าจะเป็นหมื่นล้านบาทขึ้นไป เพราะมีเท่าไรไม่เคยเก็บสั่งสมไว้ หากจะนำมาใช้จ่าย ในวัดก็เพียงเล็กน้อยตามจำเป็นจริงๆ เพราะไม่มีกิจการ งานก่อสร้างอื่นใด มุ่งเน้นแต่งานด้านจิตภาวนามาโดยตลอด มีการเดินจงกรมนั่งสมาธิเป็นหัวใจสำคัญ สำหรับปัจจัยไทยทานส่วนใหญ่ จึงมุ่งออกช่วยเหลือโลกตลอดมา
ในยามปกติ ท่าก็ให้ความเมตตาสงเคราะห์สังคมชาติบ้านเมือง อยู่อย่างเต็มที่จริงจัง ดังกล่าวข้างต้นโดยย่อเป็นปกติอยู่แล้ว เมื่อถึงยามนี้เกิดปัญหาหลายด้านหลายทาง ท่านจึงปรารภขึ้นอย่างจริงจังที่จะช่วยชาติไทย โดยช่วยเหลือด้านวัตถุเงินทองอุดหนุนชาติ ให้มีความแน่นหนามั่นคง ท่านว่าแม้การเสียสละช่วยเหลือดังกล่าว จะเป็นการช่วยเหลือปลายเหตุก็ตาม แต่ก็มีความจำเป็น เพราะขณะนี้สมบัติรวมของชาติยังขาดตกบกพร่องอยู่ จึงต้องร่วมไม้ร่วมมือกัน ต่างเสียสละช่วยกันอุดหนุนครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั้งอิ่มพอ เหมือนเรารับบประทานอาหารหากยังไม่อิ่มก็เติมเข้าเรื่อย ช้อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ตักเติมเข้าปากจนอิ่ม การเสียสละมากบ้างน้อยบ้างก็เช่นกัน ต่างมีความจำเป็นต้องช่วยกันครั้งแล้วครั้งเล่า ความสามัคคีกัน ร่วมมือและเสียสละเช่นนี้ ยังเป็นคติตัวอย่างอันดีแก่เด็กและกุลบุตรสุดท้ายภายหลัง ให้ได้รับเครื่องฝังใจที่ดี ให้รู้จักมีแก่จิตแก่ใจเสียสละซึ่งกันและกัน ไม่เพิกเฉยท้อถอยง่าย ๆ ต่อปัญหาใด ๆ แต่กลับให้มีใจเป็นนักต่อสู้ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เด็กเหล่านี้จะเห็นตัวอย่างนี้ จากพ่อแม่พี่น้องปู่ย่าตายายในคราวเสียสละครั้งนี้เอง