เรื่อง พระพุทธเจ้าคือครูผู้ยิ่งใหญ่
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว 25 ม.ค. 65
นัยของพระธรรมเทศนา ที่หยิบยกเรื่องของครู ธมฺมชีโว 25 ม.ค. 6
ดังผู้รู้ท่านประพันธ์ไว้ เพื่อเป็นการรำลึกนึกถึงข้อปฏิบัติ
ทั้งฐานะผู้เป็นครู ทั้งฐานะผู้เป็นนักเรียน
ก็เกี่ยวเนื่องกับการประพฤติปฏิบัติตน เพราะเราทั้งหลายนิ
ซึ่งเป็นสาวกคือผู้ฟัง ฟังตามบรมครู ครูผู้ยิ่งใหญ่ของพวกเรา
ก็คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ไม่ใช่เฉพาะ เป็นครูของพวกเราโดยถ่ายเดียวเท่านั้น
ยังเป็นครูของเทวดา ดังบทพุทธคุณที่เราทราบกันดี
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ตัวนี้นี่แหละที่แปลว่า สัตถุ มาจากคำว่าสัตถุ
แปลว่า ผู้สอน สัด – ท่า หรือ สัตถา ที่เราแปลกันว่าพระศาสดา
แปลว่าครูผู้สอน พระพุทธเจ้านิเป็นครูผู้สอน
สอนใคร..? ก็สอนคนที่ไม่รู้แหละ คนที่ไม่รู้ หรือคนที่น้อมจิตน้อมใจเข้ามาฟัง
ผู้ที่เข้ามาฟังพระพุทธเจ้า ก็หมายถึงว่าต้องการอยากจะให้พระพุทธเจ้า
ทรงแนะนำพร่ำสอน เราจึงมอบกายถวายกาลเวลา
มอบกายถวายชีวิต ถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่เราสวดกันอยู่ทุกวัน
พุทธัสสาหัสมิ ทาโส วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร
มอบกายของเรานิเป็นทาสรองรับ พระบัญชา
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำว่าเป็น ทาส
คำว่าเป็นทาสไม่ได้หมายถึงว่า ทาสในลักษณะที่ต้องถูกเจ้านายเคียนตี
เจ้านายให้ทำงานให้ฟรี หรือว่ามีค่าจ้างรางวัลแต่ว่ามีการซื้อการขายกัน
เรียกว่าขายทาสซื้อทาสหรือสืบทอด ทาสกันไปเรื่อย ๆ
แต่ความหมายของคำว่าทาสที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในบทสวดมนต์ทำวัตรเย็น
ความหมายก็หมายถึงว่า พวกเราทั้งหลายนิ
ยกเอาพระพุทธเจ้าเป็นครูเป็นศาสดาเป็นที่พึ่ง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง กระผมไม่มีที่พึ่งอื่นเลย…
พุทโธ เม สะระณัง วะรัง พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของกระผมนะครับ
นิเราพูดกับพระพุทธเจ้านะ พระพุทธเจ้า
เป็นที่พึ่งของกระผม,ของดิฉัน
ไม่มีที่พึ่งอื่น ขอให้พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของกระผม เป็นที่พึ่งของดิฉัน
พระธรรม พระสงฆ์ก็เช่นเดียวกัน
ไม่มีที่พึ่งอื่นนอกจากพระธรรมพระสงฆ์
ขอพระธรรมพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
อันนี้เป็นคำสัจจริง คำว่าเป็นคำสัจจริงหมายถึงว่า
พูดจากใจจริง ไม่ใช่สักแต่ว่า
ยกพระพุทธเจ้าเป็นครู ปฏิญาณว่าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า
แต่ว่าการปฏิบัติไม่ได้เป็น ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งคำสอนของครู
ก็เท่ากับว่า เป็นเพียงการปฏิญาณ
เหมือนเขาปฏิญาณต่อธงชาติ ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล
หรือปฏิญาณต่อพระพุทธปฏิมากร
ปฏิญาณแล้วไม่ทำตามเนี้ย
มันก็หมายถึงว่าเป็นการแช่งตัวเองไปในตัว นิสำคัญนะ
ปฏิญาณแล้วแต่ไม่ทำตามคำปฏิญาณนั้น
ก็เท่ากับว่าเป็นการแช่งตัวเอง
เราขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
คือที่พึ่ง อันประเสริฐ ก็คือสูงสุดแหละ
ไม่มีที่พึ่งอื่นจะสูงกว่าแหละ พระพุทธในที่นี้หมายถึง
ผู้ตรัสรู้ คือสัมมาสัมพุทธะ พระธรรมในที่นี้หมายถึง
ธรรมคำสั่งสอนของพุทธะ พระสงฆ์ในที่นี้หมายถึง
พระอริยะสงฆ์สาวก ของพระพุทธเจ้าที่ท่านบรรลุคุณธรรมวิเศษ
ตั้งแต่ระดับชั้นพระโสดา สกิทาคา อนาคา ไปถึงพระอรหันต์
อันนี้เรียกว่าพระสงฆ์ ไม่ใช่…พระสงฆ์นั่งเหงานอนงอก ๆแงก ๆ อยู่แถวนี้นะ
ไม่ใช่นะ พระสงฆ์เหล่านี้ยังเป็นที่พึ่งเราไม่ได้
เพราะอันนี้ยังเป็นปุถุชน ยังเป็นสมมุติสงฆ์
เป็นแต่เพียงผู้กำลังมุ่งมั่นตั้งใจ พยายามที่จะไต่เต้าขึ้นเป็นพระอริยะสงฆ์
พยายามอยู่ มุ่งมั่นอยู่ เพียรอยู่ ตั้งใจอยู่
ก็ถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่ถ้าไม่มุ่งมั่นไม่ตั้งใจ
ไม่ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ก็โอกาสที่จะก้าวขึ้นสู่ความเป็นพระอริยสงฆ์
ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นที่เรากราบเราไหว้กันอยู่
หรือพระคุณเจ้าทั้งหลายที่ กราบไหว้อยู่นี่แหละ
ก็คือกราบไหว้พระสงฆ์ผู้เป็นพระอริยะ
บางคนก็บอกว่า อ้าว…พระทำไมถึงไหว้พระสงฆ์ละ
พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์เหล่านี้ ไม่ใช่สมมุติสงฆ์
แต่หมายถึงสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ไล่มาตั้งแต่โน้น พระอัญญาโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ
นั้นแหละพระอริยสงฆ์ที่แท้จริง
จนมาถึงพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้บรรลุคุณธรรมชั้นสูงเป็น
พระโสดา สกิทาคา อนาคา อันนี้แหละคืออริยะสงฆ์ที่เรากราบ
ที่พวกเราไหว้ พวกเรารำลึกนึกถึง ถือว่าเป็นครูนะ
เป็นครูเป็นผู้สอน พวกเราทั้งหลายให้เดินตาม
เมื่อเราไม่เดินตามก็เท่ากับว่า เราสละ ถอนตัวออกจากโรงเรียน
ถอนตัวออกจาห้องสอบ ถอนตัวออกจากห้องเรียน หรือถอนตัวออกจากสถาบันนั้น ๆ
เรียกว่าไม่ต้องสอนแล้ว ไม่เชื่อแล้ว ขอถอนตัว ลาออก ลาออกจากห้องเรียน
ลาออกจากความเป็นสถาบันของพระพุทธเจ้า
สถานบันของพระธรรมพระสงฆ์
ถ้าลาออกจะไปทำอะไรละ อาจจะไปถือศาสนาอื่น ลัทธิอื่น
นั้นแหละเขาเรียกว่าลาออก หรือไม่ประพฤติตามไม่ปฏิบัติตาม
ก็คล้าย ๆ กับลาออกนั้นแหละ
เหมือนสมัครเข้าทำงานแล้วไม่ไปทำงาน มันก็เหมือนลาออก
โดยปริยาย สมัครเป็นสาวกเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าแล้ว
แต่ว่าไม่ทำงานตามกติกาที่พระพุทธเจ้าสอนไว้
ก็เท่ากับลาออก เมื่อเราเป็นอุบาสก,อุบาสิกา
คนเป็นอุบาสก,อุบาสิกา ก็หมายถึงผู้เข้าใกล้ พระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าก็อ้าว….จะเป็นอุบาสกใช่ไหม ถือศีล 5 นะ
ปาณา อทินนา กาเม มุสา สุรา แหนะ
รักษาศีล 5 ให้ดี ถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะ
ไม่ถึงอย่างอื่นเป็นสรณะ
ถ้าใจไขว้เขวไปถึงอย่างอื่นเป็นสรณะ ก็เท่ากับว่า
เอาใจออกห่างจากบริษัท บริษัท หรือพุทธบริษัท
บริษัทของพระพุทธเจ้า มีกติกาอยู่นะ
ไม่ได้หมายถึงว่าไม่มีนะ ถ้ายกระดับขึ้นมาเป็นผู้ถือศีลอุโบสถ
ศีล 8 อย่างนี้ ปาณา อทินนา อะพรหมจริยา มุสา สุรา วิกาลโภชนา
นัตจะคี อุตจา นิศีล 8 ยกระดับขึ้นมา
ก็ใกล้พระพุทธเจ้าเข้าไปอีก ใกล้พระพุทธเจ้าเข้าไปอีก
ก็หมายถึงว่าเป็นศีลพรหมจรรย์ ใกล้ครูเข้าไปอีก
ถ้ายิ่งกว่านั้นอีก ก็เข้าไป โกนผม ปลงคิ้ว สละบ้าน สละเรือน
สละครอบครัว สละลูกหลาน ห้างร้านบริษัทหน้าที่การงาน
ประพฤติตนเป็นนักบวช คำว่านักบวชแปลว่าเป็นผู้บรรพชา
ผู้สละ สละฆารวาสวิสัย มาเป็นภิกษุสามเณรในพระธรรมวินัยนี้
อันนั้นก็ใกล้พระพุทธเจ้าเข้าไปอีก ถ้ามีกำลัง
ก็วิ่งตามพระพุทธเจ้าทีนี้ วิ่งตามแบบไหน ก็วิ่งตามเรียนรู้ศึกษา
ปฏิบัติพระพุทธเจ้าสอนว่ายังไง แนะนำว่ายังไง
ก็ทำตามให้เต็มที่เลย พอทำตามให้เต็มที่ก็เท่ากับว่าขยัน
ขะมักเขม้น ขยันขันแข็ง ประพฤติปฏิบัติดีงามตามแนวทาง
ที่พระองค์วางไว้ อยากจะเป็นอะไรละ อยากได้อะไรละ
อยากได้สมถะใช่ไหม อ้าว ๆ ภาวนาเข้า
อยากได้อภิญญา ภาวนาเข้า อยากได้หูทิพย์ตาทิพย์
อยากหมดกิเลส ท่านก็สอนไว้หมดนั้นแหละ
เราก็วิ่งตามคำว่าวิ่งตามหมายถึงว่าประพฤติตามปฏิบัติตาม
ก็พยายามอย่างนี้เรียกว่าตามครู ตามเสด็จเบื้องพระยุคลบาทพระพุทธองค์
ด้วยการปฏิบัติตามประพฤติตาม พระพุทธองค์ท่านมีจุดจบ
จุดจบก็คือการได้บรรลุมรรคผลนิพพาน นั้นจุดจบ
ถามว่าเราจะทันพระพุทธเจ้าไหม….ทัน…
พระพุทธเจ้าอยู่ตรงนั้นแหละ ไม่ได้ไปไกล ไม่ได้เลยนั้นไปอยู่ตรงนั้น
ถ้าเป็นระดับชั้นก็ต้องเรียกว่าระดับชั้นที่ 8
ถ้าเราเดินไปให้ถึงชั้นที่แปดก็ต้องเจอ เว้นเสียแต่ว่าเราไม่มีความสามารถ
ที่จะก้าวต่อไป พอก้าวมาหน่อยก็ถอย ถอยลง
ก้าวขึ้นมาก้าวเดียวก็ถอยลงไปอีก
มาก้าวมาอีกก็ถอยอีก ก็เลยนับแต่หนึ่งอยู่เรื่อย หนึ่งอยู่เรื่อยแหละ
ไม่สองสักที ไม่สามสักที หนึ่งถอยหลังอีก หนึ่ง..
หนึ่งอีกถอยหลังอีก บางทีหนึ่งยังขึ้นไม่ได้ถอยหลังอีก
ไป ๆ มา ๆ ขาดหมดแรง ร่างกายหมดแรง เป็นคนเปลี้ยคนง่อย หมดกำลัง
คือหมดศรัทธา กำลังคือศรัทธาไม่มี ความเพียร
ที่จะก้าวต่อไปก็ไม่มี กำลังสติกำลังสมาธิกำลังปัญญา
ก็ไม่มี เพราะว่ากำลังศรัทธามันหมด มันก็ถอยเป็นเรื่อยแหละ
พอถอยไปเรื่อยมันก็เท่ากับว่าเปิดช่องเปิดโอกาสให้สิ่งอื่น
ที่ไม่ใช่คำสอนของพุทธะเข้ามาแทรกแซง มันก็ห่างไปเรื่อย ห่างไปเรื่อย
ไป ๆ มา ๆ ก็ไม่มีเวลาไม่มีโอกาสนะ
โบกมือบ๊ายบายเลยว่า มีโอกาสจะมาใหม่
ไม่รู้เมื่อไหร่เป็นโอกาส ทั้ง ๆ ที่โอกาสก็มีแล้ว แต่ก็บอกว่าโอกาสหน้าเจอกันใหม่
ที่บอกว่าโอกาสหน้าเจอกันใหม่ ไม่รู้ว่าจะเจออะไรบ้าง
365 วัน ไม่รู้ไปเจออะไรบ้าง มาโอกาสหน้าเจอกันใหม่
ก็เป็นลักษณะอย่างนี้ ก็เลยตามพระพุทธเจ้าไม่ทันสักที
พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงแนะนำวางหลักการประพฤติปฏิบัติไว้
เหมือนกับทอดสะพานมาแล้ว ทอดบันไดมาแล้ว
กวักมือเรียก ประกาศโฆษณาประชาสัมพันธ์ตะลอมมาโดยตลอด
แต่คนที่จะขึ้นไม่ยอมขึ้น คนที่จะเกาะไม่ยอมเกาะ
นี่แหละมันเป็นลักษณะอย่างนี้ มีแต่ว่าอยากไปอยากไป
อยากไปก็ขึ้นเรือสิ โอ๊ย…เดี๋ยว ลืมโน้น ลืมนี่น่านอีกแล้ว
เวลาหมดไป สุดท้ายก็หมดเวลา โอกาสหน้าเจอกันใหม่
โอกาสหน้าชาติหน้าโน้นแหละ
ไม่รู้จะมาเจอหรือเปล่า ดังนั้นบรมครูของพวกเรานี้
ถือว่าเป็นผู้สอนได้ยอดเยี่ยม หาผู้เสมอเหมือนไม่มีนะ
พวกเราเกิดมาในยุคที่พระพุทธศาสนายังเจริญรุ่งเรือง
คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยังปรากฏเป็นผลให้เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติตามประพฤติตามอยู่
ถ้าเป็นยาเขาเรียกว่ายังไม่หมดอายุ ถ้าป่วยก็กินได้เลยแหละ
ถ้ารู้วิธีกินก็รักษาโรคภัยไข้เจ็บหาย
ยานี้ไม่หมดอายุ เป็นยาวชีวิก
ไม่ใช่สตหการิก ยามการิก เป็นยาวชีวิก
หมายถึงว่ากินได้ตลอดชีวิต
ธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า กินได้ประพฤติได้ปฏิบัติได้ตลอดชีวิต
เป็นอกาลิโก ก็หมายถึง ไม่จำกัดเวลา
จะอยู่ตรงไหนที่ไหนทำได้เป็นฆาราวาสก็ปฏิบัติได้
เป็นพระเป็นเณรก็ปฏิบัติได้ เป็นเทวดาก็ปฏิบัติได้
ถ้ารู้ปฏิบัติได้หมดแหละยกเว้นแต่ว่าไม่รู้
เช่นพวกภพภูมิที่ต่ำกว่าพวกเรานิ เช่นพวกสัตว์เดรัจฉาน
ยากนะ เปตรอสูรกาย ก็ยาก สัตว์นรกยิ่งยากหนักเลย
ไม่มีโอกาสที่จะได้คิดถึงเรื่องศีลเรื่องธรรมแหละ
เพราะมันทุกข์ ทุกข์บีบคั้นอย่างหนัก
จะออกไม่ได้ไปไม่ได้ เพราะมันมีแต่ทุกข์
เหมือนกับคนป่วยอยู่ในห้อง ไอซียูอย่างนี้แหละ
ตาก็ลืมไม่ได้ หายใจเองก็ไม่เป็นอย่างนี้ กินอะไรก็ไม่ได้ทุกข์ขนาดนั้นนะ
จะออกไปก็ออกไปไม่ได้นะ เพราะมันไม่มีแรงไม่มีกำลัง
ติดเครื่องเหมือนเครื่องพันธนาการ ผูกไว้ ผูกขาผูกแข็งผูกมือ
ติดกับเตียงติดกับโต๊ะไว้ ผูกคอไว้สายระโยระยางไปไม่ได้
เหมือนกับตกนรกเลย พวกอยู่ในนรกเหมือนกันแหละ
มันทุกข์มันเจ็บ อยากจะพูดอยู่พูดไม่ได้มันเจ็บไม่มีเสียงไม่มีแรง
บ้วนน้ำลายออกเองก็ไม่ได้ กลืนน้ำลายเองก็ไม่เป็น
มันหนักขนาดนั้นนะ นั้นแหละเหมือนกับนรกเลย
เรียกว่าถูกบาปถูกกรรมมันบีบคั้น
ไม่มีเวลาที่จะรำลึกนึกถึงอรรถนึกถึงธรรม
เพราะมันทุกขเวทนา มันบีบคั้นหนักเป็นเปตรเป็นอสูรกาย
เป็นสัตว์นรกเป็นเดรัจฉาน เหล่านี้สติปัญญามันไม่มี
หมดโอกาสเป็นภพภูมิที่อาภัพแหละ
ฉะนั้นต้องถือว่าเกิดมาเป็นมนุษย์ได้มาพบพระพุทธศาสนานิ
สำคัญมาก เราจะประพฤติในฐานะอันใดก็แล้วแต่
ขอให้มุ่งมั่นตั้งใจ ต่อการประพฤติปฏิบัติ
คำว่าประพฤติปฏิบัติไม่ได้หมายความว่าต้องมานั่งหลับตานะ
หมายถึงว่าปฏิบัติในสิ่งที่ดีนั้นแหละที่พระพุทธเจ้าสอนไว้
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง อันไหนที่มันเป็นบาป
เราก็รู้อยู่นิ เราก็ต้องเว้นแหละไม่ทำ กุสลสฺสูปสมฺปทา
อันไหนที่มันเป็นบุญก็ต้องรีบทำ เพราะเราอยากจะหมดจดบริสุทธิ์
ผ่องแผ่วทางด้านจิตใจ พระพุทธเจ้าก็วางหลักไว้อยู่แล้ว
จะเป็นใครก็ได้ทำเถอะ จะเป็นพระก็ได้จะเป็นเณรเถรชีนิ
ได้หมดนั้นแหละ เรารู้แล้วว่าอะไรชั่วอะไรผิด
เหมือนสิ่งที่ไม่ดีไม่เกิดประโยชน์ต่าง ๆ เราก็รู้
กินอันนี้มันเป็นโทษ ทำอย่างนี้เป็นโทษก็รู้
เมื่อรู้แล้วก็อย่าไปทำ อันนี้มันเป็นคุณนิก็รู้
เมื่อรู้แล้วก็ทำเสีย ลักษณะอย่างนี้
มันก็เกิดความหมดจดผ่องใสขึ้นร่างกายปราศจากโรคภัยจิตใจ
ก็สดชื่นแจ่มใส นั้นแหละคุณของการประพฤติปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า
เป็นเช่นนั้นนะ ถ้าไม่ประพฤติตามปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าแล้วก็
สิ่งโน้นสิ่งนี้เป็นผลมากระทบแหละ เดี๋ยวปวดแข็งปวดขาเจ็บโน้นเจ็บนี้
โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนขัดข้องตรงนั้นตรงนี้
ไปไม่ได้มาไม่ได้นิจะทำจะพูด สิ่งที่ดีหน่อยก็เกิดอุปสรรค
แนะ…มันมีเครื่องขวางทางเครื่องล่อเครื่องดึงสารพัดอย่าง
เรียกว่ามันไม่สะดวก แต่ถ้าเรามีสิตมีปัญญา มีความเพียรเข้มแข็งก็ต้องฝึกต้องฝืน
ฝึกไปเรื่อยฝืนไปเรื่อย ฝืนไปฝืนมามันก็ค่อยคล่องค่อยชำนาญ
เหมือนเราฝึกเขียนหนังสือ เขียนเป็นแต่มือขวา
เพราะเราไม่ได้ฝึกมือซ้าย พอฝึกมือซ้ายใหม่ ๆ ก็เหมือนกับเด็กอนุบาลที่มันหัดเขียนนั้นแหละ
เขียนไปเขียนมาเดียวมันก็คล่อง เรามาฝึกใหม่ก็เหมือนกัน
ฝึกมือขวามาชำนาญแล้ว มาฝึกมือซ้ายลองดูดิ แหนะ
ฝึกไปฝึกมามันก็คล่องได้ ใหม่ ๆ ก็ฝืน เหมือนเรามาฝืนให้ทาน
บางทีมันก็ไม่อยากให้ก็ฝืนมันดู ฝืนมารักษาศีล แหนะ
ใหม่ ๆ มันไม่อยากมาก็ฝืนดูสักสองวันสามวัน
ครึ่งวันทำนองนี้
ฝืนนั่งภาวนา เอา 5 นาทีนะ 10 นาทีนะ ก็เพิ่มไปเรื่อย ๆ
มันก็ฝึกไปเรื่อยฝึกไปเรื่อยก็ก้าวขึ้นไปเรื่อยก้าวขึ้นไปเรื่อย
พอมันได้ที่มันก็ไม่ยากทีนี้ฝึกได้ที่แล้ว
ไม่ต้องบอกแหละ พอถึงเวลามันก็ปั๊บเลย ถึงเวลาเข้าที่เลย
จิตฝึกได้ กายฝึกได้ นั้นเป็นสิ่งที่ดี พระพุทธเจ้า
ทรงแนะนำไว้หมดแล้ว
เราก็มาพูดกันมาคุยกันถึงเรื่องข้อปฏิบัติเหล่านี้แหละ
เพื่อเป็นกำลังใจ จะได้มีกำลังใจเพื่อประพฤติปฏิบัติ
จะได้ไม่ถูกความโลภความโกรธความหลง
หรือราคะโทสะโมหะ
มันผูกหมัดรัดรึง จูงตาจูงหูจูงจมูกจูงลิ้นจูงกายจูงใจไป
มันจูงเรานั้นแหละ ไม่ใช่เราจูงมันนะ จูงตาไปเนี้ย
ตาก็จะไปเห็น จูงหูไปหูจะไปฟัง อันไหนมันดี ๆ เพราะ ๆ อยากไปฟัง จูงจมูกไปกลิ่นดมหา
เหมือนกับดมหากลิ่นมันอยู่ตรงไหนอยู่ตรงไหน หายังไงก็ไม่เจอ อ้าวไม่เจอ
ทุกวันนี้ก็มี GPS จับเลยนี้ กลิ่นมันอยู่ตรงนี้ ก็ไปเลย
ตาม GPS ไปจนเจอจนได้ แหม่ะ…สะใจได้เจอของชอบแล้วติดใจอีก
วันหน้าไม่ต้องถามคนอื่นแหละดิ่งไปเลย ดิ่งไปเลย อย่างงั้น
ใหม่ ๆ ก็ฝืนแหละ การประพฤติปฏิบัติธรรมเหมือนกัน
ใหม่ ๆ ก็ฝืน ถ้าเราไม่ฝืนมันก็ไม่เป็นหรอกจะให้มันเป็นเอง จะให้มันเบื่อหน่ายเอง
จะให้มันรู้เองเห็นเองเป็นไปได้ยากเพราะพระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนไว้แล้ว
ว่าต้องฝึกฝนอบรมเรามาอบรม เรามาฝึกฝนมาอบรม
มาอบ เรานั่งอยู่ในศาลานิก็มีแต่ผู้มีศีล ก็เอาศีลแต่ละคนละคน
อบศีล อบกายอบวาจาอบใจก็หอมหวน คนมีศีลนิ เขาเรียกว่า
อบรม เอาศีลเอาธรรมอบรม ก็หอมเดียวศีลด้วยธรรม
ถ้าเอาอย่างอื่นมาอบ มันก็หอมอย่างอื่นนะ
เช่นไปอบด้วยสีอบด้วยแสง อบด้วยดนตรี อบด้วยเครื่องสนุกสนาน
รื่นเริงเพลิดเพลินมันก็ติดตรงนั้นแหละ ก็ได้กลิ่นติดอยู่กับกลิ่นพวกนั้น
ลักษณะจิตมันฝึกอย่างนี้ ฝึกอย่างไรก็ได้อย่างนั้นแหละ
ก็พยายามเรื่อยไป
อ่ะ ได้เวลาที่เราจะสวดชัยมงคลคาถา
คือชะยันโต มันเป็นคาถาประกาศให้ทราบว่าพระพุทธเจ้าพระองค์
ตรัสรู้เพราะอาศัย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นสุจริต
ดังนั้นเรามาตั้งจิตมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อให้กายวาจาจิตของเรา
เป็นสุจริตธรรม ก็คือธรรมเบื้องขวานั้นแหละ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง, วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ต้องประพฤติอย่างนี้ถึงจะไปตามพระพุทธเจ้า
ถ้าไม่ประพฤติอย่างนี้ ยังไงก็ไม่เจอพระพุทธเจ้า
ฉะนั้นพระพุทธเจ้า โพธิ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะธรรมเบื้องขวา
ดังนั้นก็ประพฤติธรรมเบื้องขวา ถ้าอยากไปหาเรา
นี่ก็คือ..ความหมายของชะยันโตที่เราสวด
ก็ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมงตั้งใจ
ธรรมีกถายามเย็น
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว
ณ วัดป่ามหาไชย
อังคารที่ 25 มกราคม 65