เรื่อง พระฉันนะ ผู้ดื้อดึง หลงตน
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว 26 ม.ค. 65
นัยของพระธรรมเทศนา ปาจิตตียกัณฑ์ เป็นข้อปฏิบัติที่
เพื่อบัญญัติมาควบคุม ควบคุมคนหัวดื้อ คนพูดกลับกลอก
คนไม่มีสัจจะ คนไม่ได้มีความตั้งใจกับการที่จะชำระสะสาง
ตนเองให้บริสุทธิ์หมดจด เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงเจตนาว่า
จะไม่ให้การกระทำของตนเองเป็นความผิด
ซึ่งมันก็ก่อให้เกิดความไม่สบายใจอยู่วันยังค่ำนั้นแหละ ถ้าคิดเช่นนั้น
เหมือนกับว่า ทำให้คนอื่นลำบากใจ ทำให้สงฆ์ลำบากใจ
อึดอัดกับคนกับภิกษุที่มีพฤติกรรมอย่างนี้ ท่านเรียกว่าคนหน้าด้าน
คนหัวดื้อ คนไม่มียางอาย ไม่กลัวต่อบาป ไม่ละอายต่อบาป
หรือถ้าพูดลึกลงไปก็เรียกว่าจิตใจมันแข็งกระด้าง ไม่ภาวนา
ต้องว่าอย่างนั้น เรียกว่าไม่ภาวนา ถ้าภาวนาแล้วจิตมันก็อ่อน
กายมันก็อ่อนนะ เรียกว่า จิตตลหุตา กายลหุตา กายอ่อนจิตอ่อน
พยายามที่จะปาวรณาตนต่อคนอื่นอยู่เสมอแหละ ถ้ามีข้อผิดพลาด
พลั้งเผลออะไร ช่วยแนะนำผมด้วย ช่วยตักเตือนผมด้วย
ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าคนมีความปราถนาที่จะมุ่งมั่นต่อการชำระสะสาง
ตัวเราเองให้หมดจดบริสุทธิ์
ดังนัยยะที่พระองค์ทรงแนะนำ ในสัญญา 10 ประการ
ในข้อที่ว่า ตัวเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่
คือเราพิจารณาแล้วแหละว่า วินัยแต่ละข้อแต่ละข้อนิ
เราก็มั่นใจแหละว่า ปฏิบัติถูกต้องดีงาม อันนี้ก็เป็นการดี
แต่ทีนี้มันมีข้อซ้อนมาอีกทีหนึ่ง ที่ว่าผู้รู้ไตร่ตรองใคร่ครวญแล้ว
ติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่ นิ ๆ ข้อที่ 2 นิ
ก็หมายถึงว่า ผู้รู้ ก็ผู้มีภูมิจิตภูมิธรรมมีสติมีปัญญา
มีความรู้ความเข้าใจในข้อปฏิบัติสูงกว่าเราอีก
ท่านไตร่ตรองใคร่ครวญแล้วว่ายังไม่ใช่ยังไม่เหมาะ
ไม่ถูกต้องลักษณะอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสทรงสอนไว้ว่า
ให้ผู้รู้ท่านช่วยตรวจสอบอีกทีหนึ่ง เหมือนกับตั้งให้เป็นผู้ที่ปรึกษา
ตั้งให้เป็นผู้ตรวจสอบ ตั้งให้เป็นผู้พิจารณา ว่ากล่าวแนะนำ
เหมือนกับเขาตั้งให้เป็นที่ปรึกษา หรือตั้งให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการต่าง ๆ อย่างนี้ แล้วมีข้อปฏิบัติที่เราเองตัวเราเอง
จึงเชื่อมั่นในตัวเรา คนยังมีโลภะโทสะโมหะอยู่
การที่จะมั่นใจในสิ่งที่ตนเองทำตนเองพูดมันก็ไม่แน่เหมือนกันว่า
อาจจะมีข้อผิดพลาด จึงช่วยให้คนอื่นขอร้องให้คนอื่นช่วยแนะนำ
ช่วยตักเตือน เหมือนกับเราปวารณาออกพรรษาอย่างนี้
เขาเรียกว่าปวารณาตนเพื่อให้คนอื่นแนะนำตักเตือน
ถ้าได้ยินว่าได้ยินกิตติศักดิ์ ไม่ดีงามเช่นนั้นเช่นนี้
ก็ขอให้ท่านได้ว่ากล่าวตักเตือน เพราะเราอยู่ด้วยกัน
แล้วก็เตือนกันได้อยู่ ไปอยู่ที่ไกล เตือนกันไม่ได้
แต่ว่าได้ยินข่าวเช่นนั้นเช่นนี้ก็ให้ว่ากล่าวตักเตือนกัน
และนี่เรียกว่าปวารณาตนเพื่อให้คนอื่นว่ากล่าวตักเตือน
เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมทางด้านจิตใจที่มุ่งมั่นประพฤติปฏิบัติ
ให้เข้าถึงหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยิ่งมีผู้แนะนำมีผู้ตักเตือนก็ยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงว่า
เรามีความสำคัญท่านมีความเมตตา มีความกรุณาต่อเรา
ท่านถึงบอกเราท่านถึงแนะนำเรา ถ้าท่านไม่แนะนำเลย
ปิดวาจาไปเสีย เรียกว่าไม่สอนไม่ว่ากล่าวตักเตือนแนะนำหรอก
เพราะว่าบอกมากแล้วสอนมากแล้ว พูดให้ฟังมากแล้วอย่างนี้
เขาเรียกว่าปิดประตูเสีย ไม่แนะนำพร่ำสอนและ
ลักษณะอย่างนี้ก็ถือว่าหมดโอกาสที่จะแก้ไข
อย่างท่านพระฉันนะนี้ ก็มีหลายกรณีที่เกิดขึ้น
จนกระทั่งสุดท้ายโน้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน นะ
พระอานนทเถระเจ้า จึงทูลถามว่ากรณีของพระฉันนะนี้จะทำยังไง
คือหมายถึงว่าแม้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่
ก็ไม่สามารถที่จะกำราบทิฐิของพระฉันนะได้เลย
เพราะมีทิฐิสูงมาก
เมื่อมีความทิฐิสูงมากก็คือท่านเองนั้น ท่านเป็นคนที่พาพระพุทธเจ้านี้ออกบวช
พระลูกเจ้า พระพุทธเจ้านิ เรียกพระพุทธเจ้าว่าพระลูกเจ้า
พระลูกเจ้าออกบวชเพราะใคร ถ้าผมไม่พาออกบวช
ยังไงก็ไปไม่ได้หรอก ทำนองนี้ อันนี้เขาเรียกว่า คนยกเอาตนเองยกตนเอง
ให้มีความสำคัญ ให้มีบทบาทสำคัญ พอพระผู้เห็นข้อผิดพลาดความไม่ดีไม่งาม
ท่านแนะนำท่านว่ากล่าวก็ไม่ยอมแหละ ก็คิดเข้าใจว่า
ตนเองเป็นเจ้าของพระพุทธเจ้า นู้นนะ ตนเองเป็นเจ้าของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ธรรม ตนเองเป็นเจ้าของธรรม
พระสงฆ์ทั้งหลายก็ประพฤติธรรม ก็แสดงว่าสงฆ์ทั้งหลายต้องเชื้อฟังท่าน
พูดง่าย ๆ ก็เหมือนกับเป็นเฒ่าแก่ใหญ่เลยแหละ
หรือผู้เป็นเฒ่าแก่ใหญ่ พระพุทธเจ้าเป็นผู้จัดการ ทำนองนี้
นิความคิดของท่านทำนองนั้น
ใครจะไปว่ากล่าวแนะนำตักเตือนท่านไม่ได้เลย
แม้พระพุทธเจ้าเองก็เทศน์แล้วเทศน์อีก
เทศน์โดยตรงเทศน์โดยอ้อมเทศน์ให้ฟังเช่นนั้นเช่นนี้
ยังไม่คิด นิทิฐิอันนี้มันปิดกั้นจิตใจ เรียกว่าทิฏฐาสวะ
อาสวะคือ ทิฐิ ความเห็นนี้มันปิดกั้นนิ
ถ้าไม่สลัดไม่แหวกมันออกนิ ยากนะยากที่จะเข้าถึงจิตถึงใจ
สมกับที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ตั้งแต่ต้น ๆ
ก่อนแต่ที่พระองค์จะประกาศธรรมคำสอนที่พระองค์ตรัสรู้
ที่พระองค์ตรัสว่า ให้มวลมหาชนทั้งหลายนี้วางศรัทธา
สละศรัทธา แล้วก็หันหน้ามาฟังพระองค์จะเทศน์ให้ฟังจะพูดให้ฟัง
ทำไมถึงว่าให้สละศรัทธา ศรัทธานี้มันแปลว่าความเชื่อใช่ไหม
ศรัทธาคือความเชื่อ คือ…ความเชื่อเดิม ๆ ที่มีมาก่อนหน้านี้
ถือว่าเป็นความเชื่อที่ผิดเสียส่วนใหญ่ ฉะนั้นละสลัดความเชื่อนั้นเสีย
บางคนก็เชื่อว่าบุญไม่มีบาปไม่มี อย่างงี้ เชื่อว่าเทพเจ้าเทวดา
อินทร์พรหมเป็นผู้สร้างเป็นผู้สอน เป็นผู้อยู่เบื้องบนคอยบังคับบัญชา
คอยสั่งให้ทำอันนั้นอันนี้ นั่น ความเชื่ออย่างนี้
พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ให้มวลมนุษย์ทั้งหลายนี้ทิ้งความเชื่อนั้นก่อน
เมื่อสลัดความเชื่อนั้นแล้ว ให้หันหน้ามาฟัง แล้วผมจะพูดให้ฟัง
ลักษณะอย่างนี้เป็นเครื่องบ่งบอกให้เห็นว่าเหมือนกับ
ตั้งจิตตั้งใจทำใจของตนเองให้ว่าง ว่างจากทิฐิ ว่างจากความเห็นเดิม ๆ นั้นแล้ว
มุ่งมั่นตั้งใจฟัง แล้วก็เอาไปประพฤติปฏิบัติ มันก็เหมือนกับลักษณะที่เราเรียนนี่แหละ
เราเรียน เรียนธรรมะ นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก นิ
หรือประโยค 1,2,3,4,5 ถึง 9 นู้นนะ หรือว่าศึกษาค้นคว้าในพระไตรปิฎก
จนช่องชำนาญ รู้เลยว่าเรื่องอะไรข้อไหน บรรทัดไหน พระพุทธเจ้าว่าไว้อะไรอย่างไร
รู้หมด จำได้หมดแหละ แต่ว่ายังไม่อาจสามารถที่จะลดละกิเลสตัณหาอุปาทาน
ในจิตตสันดานของตน รู้ชื่อมันหมด กิเลสตัวไหน รู้ชื่อมันหมด ธรรมตัวไหนรู้หมด
แต่ว่า…ไม่สามารถที่จะชำระ ตัวกิเลสในจิตตสันดานของตน
ในความหมายก็คือ ไม่โอปนยิโก น้อมเข้ามา
เพื่อประพฤติปฏิบัตินั้นเอง เมื่อไม่ลงมือประพฤติปฏิบัติก็เลยไม่รู้
ว่าจะต้องสลัดอย่างไงสละอย่างไร รู้แต่เพียงจำมาลักษณะอย่างนี้
ฉะนั้นที่พระพุทธเจ้า เมื่อลงมือปฏิบัติสิ่งที่จำมาเรียนมาต้องวางก่อน
ไม่ได้หมายถึงว่าไม่ให้เรียนนะ ความหมายถึงว่า ให้วางไว้ก่อน
เหมือนกับเรานั่งภาวนา เราวางก่อนตำรานี้วางหมดเลย
วางหมด มาดูอะไรดูลมหายใจดูพุทโธ หายใจเข้าหายใจออกพุทโธนิ
ถ้าถามว่าพุทโธนิ เรียนมาไหม หายใจเข้าหายใจออก เรียนมาไหม
ก็เรียนมา แต่ว่ายังไม่ได้ลงมือทำ พิจารณา อสุภกรรมฐาน อย่างนี้
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ มันมีอะไรบ้างรู้เรียนมาแล้ว
มีสียังไง รูปร่างยังไง กลิ่นยังไง รู้ แต่ว่าอันนั้นมันคือจำ จำตามหนังสือ
ตามความหมายที่เขาว่ากันมา แต่รู้ด้วยการเห็นจริง ๆ มันเป็นยังไง
มันต้องรู้ภายในใจของเรา ลักษณะอย่างนี้ถึงเรียกว่ารู้จริง
ท่านถึงเรียกว่า สันทิฏฐิโก แปลว่าเห็นเองรู้เองเหมือนอาหารนิ
เออ…ตรงนั้นอร่อยอันนี้อร่อย ถ้าไม่ได้ลิ้มรสดูมันก็ไม่เชื่อว่าอร่อย
แบบไหน
พอลิ้มรสดู อ้อ…อร่อยอย่างนี้ บางคนก็ว่าอร่อย พอเราไปลิ้มอ้าวมันไม่อร่อย
มันก็แล้วแต่คนจะชอบ ถึงจะรู้รสก็คือต้องลิ้ม
ถ้าไม่ลิ้มก็ไม่รู้รส ธรรมะของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน
ทำยังไงมันถึงจะเป็นสันทิฏฐิโก
ทิฏฐิ แปลว่า เห็น ทิฏฐิโก ก็แปลว่า เห็น
สัน ก็มาจากคำว่า สัง สังก็คือตนเอง ตัวเราเอง สัง สัน
มาสนธิกันเข้า สันทิฏฐิโก แปลว่าผู้ประพฤติปฏิบัติจะรู้เห็นด้วยตัวเอง
ถ้าไม่รู้ไม่เห็นด้วยตัวของตัวเองแล้ว ก็ยังไม่ใช่ธรรมะ
ที่เราศึกษาค้นคว้าหา เป็นแต่เพียงจำได้
หมายรู้เท่านั้นเอง แต่ไม่ใช่เกิดขึ้นกับใจของเรา
อย่างแท้จริง ท่านจึงพยายามลงมือทำมาให้มันเห็นความเป็นจริง
ของธรรมนั้นในใจของเรา ทีนี้พอเห็นความเป็นจริงในใจของเราแล้ว
เราก็ไม่จำเป็นจะต้องไปเชื่อพระพุทธเจ้าก็ได้
ไม่จำเป็นต้องว่าตามพระพุทธเจ้าก็ได้ เพราะว่ามันลงกันได้
เป็นของจริงแล้ว เหมือนกับเขาว่าเกลือกับเกลือมันก็เค็มเหมือนกัน
ไม่ได้ผิดเพี้ยนไปอย่างอื่น น้ำตาลว่าหวานก็หวานเหมือนกัน
ไม่ได้ผิดเพี้ยนไปอย่างอื่น ๆ ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
ฉะนั้นเรื่องทิฏฐินิ เป็นตัวการสำคัญ
พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้นะ ใช่ไหม
อย่างพระสารีบุตรนิก็มีทิฐิ
แสดงธรรมให้ฟังกี่กัณฑ์ ๆ 5 วัน 10 วันก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
จนกระทั่งต้องใช้วิธีอุบายเทศน์ให้คนอื่นฟัง
เพื่อท่านจะได้เอาไปเป็นข้อคิด นั้นละพอได้ยินพระพุทธเจ้า
เทศน์ทีนะคะพราหมณ์ฟัง ก็นั่งฟังนั่งถวายงานพัดอยู่ ถึงได้ลดละ
ปล่อยว่าทิฐิอันนั้น ก็ได้บรรลุ
อย่างท่านฉันนะก็เหมือนกัน อยู่กับพระพุทธเจ้าตั้งแต่บวช
ไม่รู้ว่าบวชตอนไหนนะ บวชนานเหมือนกันนะ
จนกระทั่งวันที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอานนท์ ทูลถามว่า
เรื่องของพระฉันนะจะทำยังไง พระพุทธเจ้าก็เลยว่าให้ลงทัณฑกรรม
ลงทัณฑกรรมอย่างไร พระพุทธเจ้าว่า ให้สงฆ์ทั้งหลายนี้ลงทัณฑกรรม
ไม่ให้พูด ไม่ให้พูดไม่ให้ถาม ไม่ให้คุยกับพระฉันนะเลย
ปิดวาจาเลย พระฉันนะ เดินมาก็ไม่คบหาสมาคม ปล่อยให้อยู่คนเดียว
ไม่ให้พูด คนเราถ้าเมื่อเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นมาแล้ว โอ…
เราไม่ถูกนินะ เราผิดนิ พอรู้ตัวว่าผิดจิตมันก็อ่อนลงแล้วทีนี้
ยอมรับกับคำพูดคำจา คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือนของคนอื่นแหละ
เมื่อก่อนนี้ลำพองใจว่าตนเองเป็นคนสำคัญ
ใครจะว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้แหละ ขนาดว่าพระพุทธเจ้าพูดให้ลดละก็ยังไม่ได้
เพราะมันไม่เข้าถึงใจ ฟังอยู่แต่ไม่เข้าถึงใจ ถ้ามันเข้าถึงใจแล้วนิได้ยินตรงไหน
ถ้ามันเข้าถึงใจแล้ว มันก็ได้ทั้งนั้นแหละ ถ้ามันไม่เข้าถึงใจยังไงก็ไม่ได้
ได้ยินเสียงนกร้องเสียงการ้อง เสียงน้ำตก เสียงน้ำไหลพวกนี้
ที่เราได้เรียนรู้มานิ ก็ล้วนแล้วแต่ โอปนยิโก เข้ามาที่จิตทั้งนั้นเลย
เหมือนสามเณรบัณฑิตอย่างนี้ สามเณรเรวัตตะ สังกิจจะสามเณรอย่างนี้
ที่ว่าเดินไปบิณฑบาต กับพระสารีบุตร
ไปเห็นชาวบ้านเขาไขน้ำเข้านา
เขาไขน้ำเข้านา ไขไปตรงไหนมันก็ไหลไปตามอย่างที่เขาให้ไป
จะเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาตามล่อง มันก็ไปตามตรงนั้นหมด
ท่านก็เลยคิดว่าเออ…ขนาดน้ำมันไม่มีจิตนะ มันก็ยังไปกับคนได้
ยังควบคุมได้ แต่เรามีจิตแท้ ๆ คนเรามีจิตแท้ ๆ มันก็น่าจะฝึกได้
ลักษณะอย่างนี้ได้ข้อคิดขึ้นมา พอได้ข้อคิดขึ้นมาก็เป็นธรรมขึ้นมา
ก็ไปเห็น คนดัดลูกศรอีก ไม้มันคด ๆ งอ ๆ เขาดัดให้มันตรง เอ…
ไม้คด ๆ งอ ๆ มันไม่มีจิต แต่เขาดัดให้ตรงได้
คนเรามีจิตทำไมมันดัดไม่ได้ น่าจะดัดได้ ก็เลยได้ข้อคิดเช่นนั้น
ไม่ไปบิณฑบาตบอกพระสารีบุตรว่า จะกลับไปภาวนา นิข้อคิดมันเกิดขึ้น
ธรรมะมันเกิดขึ้น อย่างนั้น
ฉะนั้นทิฐินิโห….อะไรก็แล้วแต่แหละ คำว่า ทิฐิ มันแก้ยากจริง ๆ นะ
ต้องถือว่าเป็นตัวสุดท้ายก็ได้ ที่จะก้าวขึ้นไปหาอวิชชานิ ใช่ไหม
ในอาสวะ 1 กามาสวะ 2 ภวาสวะ 3 ทิฏฐาสวะ 4 อวิชชาสวะ
บางทีก็ว่าสามตัวนะ กามาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ
ตัวทิฏฐิตัวนี้นี่แหละ ถ้าพลิกทิฐิเข้าไปหาสัมมา มันก็ไปได้ทันทีนะ
ถ้ายังเป็นมิจฉาอยู่ จึงแก้ยาก สอนคนให้เข้าใจผิดถึงเป็นบาปเป็นกรรมอันมหันต์เลย
ให้เข้าใจในบุญในบาปผิด เหมือนอย่างพวกนักบวชทั้งหลาย
ที่สอนผิดนิ ฉะนั้นพอพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วกี่คน ๆ กี่องค์ ๆ กี่รุ่น
พวกเนี้ยก็ยังถือผิดอยู่อย่างนั้นแหละ แม้สิ่งที่ถูกเกิดขึ้นแล้ว
ก็ยังถือผิดอยู่อย่างนั้น นิ ๆ คือกรรม กรรมที่สอนผิดมา
มันจะติดตัวจิตดวงนั้น ยากกับการที่จะแก้ไข
ธรรมีกถายามเย็น
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว
ณ วัดป่ามหาไชย
พุธที่ 26 มกราคม 65